Header Ads

Active Learning — Involvement

Active Learning — Involvement

เพราะ “การเรียนรู้” ต้องเกิดขึ้นด้วยตัวผู้เรียนเอง ไม่ใช่เพียงแค่การรับฟังความรู้จากอาจารย์ ดังนั้น การสอนจึงควรต้อง ชวนให้ นศ. “คิด” จากการมีส่วนร่วมในเนื้อหา โดยวิธีการต่างๆ

สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเป็น KM Facilitator แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของอาจารย์คณะวิศวฯจากสถาบันต่างๆ ในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิศวกรรม ให้เกิดการเรียนรู้ จากกระบวนการ active learning ในงานสัมนาวิศวศึกษา ของสภาคณบดี ทำให้เข้าใจความหมายของการเรียนที่จำเป็นต้องให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ ที่สามารถประมวลผลความรู้ ให้เกิดเป็นการเรียนรู้ได้

Active Learning คือ –> Involvement – การทำให้ นศ. มีส่วนร่วมในการเรียน –> การชวนคิด – การทำให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิด ตามเนื่องหาวิชาที่ เรียน ที่สอน

ดังนั้น การทำให้เกิด involvement และ การทำให้ นศ.คิดตาม ติดตาม การเรียน สามารถทำได้หลายวิธี ตามประเด็นต่างๆ เช่น
  • เข้าใจเป้าหมาย ให้ นศ. รู้เข้าใจว่าเรียนเนื้อหาวิชานี้ไปทำไม — กำหนดเป้าหมายการเรียนโดย นศ. / พบรุ่นพี่ พบวิศวกรมืออาชีพ / การใช้ case จากภาคอุตสาหกรรม
  • Inspiration — quick win ส่งเสริม ให้กำลังใจ พัฒนาที่ละเล็กละน้อย มีกำลังใจให้คิดต่อ
  • การให้ นศ. Comfortable กับอาจารย์ กับเนื้อหา กับการเรียนการสอน — blend in life style ของ นศ. เข้ากับการเรียน
  • วิธีการที่ใช้ ชวนให้ นศ. คิดที่เหมาะสม ต้องเหมาะสมกับ กลุ่ม นศ. เนื้อหาวิชา
  • แม้แต่การ lecture บรรยายธรรมดาๆ หากสามารถจูงใจให้ นศ. คิดวิเคราะห์ติดตามได้ ก็ถือเป็น Active Learning (แต่ก็มักจะยากหน่อย)
  • การชวนคิด — เช่น การฝึกปฏิบัติ / การ quiz / การตั้งคำถาม Brain-storming / การทำ project / การทำรายงานนำเสนอ / การแก้ปัญหา / การ lecture ที่ลำดับขั้นตอนให้ นศ. ได้ติดติดตามได้ / ฯลฯ
  • สรุปนำเสนอ และ เขียน จะทำให้คิด ประมวลผล และสรุปผลการเรียนรู้
  • เมื่อใน class ต้องใช้เวลาในการช่วยกันคิด แล้วต้องให้ นศ. สามารถเรียนรู้เนื้อหาได้ด้วยตัวเอง นอกชั้นเรียน ซึ่ง อาจารย์ควรต้องชี้ช่องให้ โดยวิธีการเรียนด้วยตัวเอง เช่น  e-learning / flipped classroom / report / etc
  • ความรู้ ข้อมูลมีอยู่นอกชั้นเรียน เช่น Google Internet ไม่จำเป็นต้องบอกด้วยอาจารย์ … แต่สิ่งเหล่านี้ ไม่สามารถชวนให้ผู้เรียนคิดตามได้ ดังนั้น อาจารย์ที่จะอยู่รอดได้คือ คนที่สามารถทำให้ นศ. คิดและพัฒนาความคิดจากความรู้ได้
ดังนั้น “active learning คือการทำให้นักศึกษา involve ในเนื้อหา โดยอาจารย์ต้องชวนให้ นศ. คิด”
———————————————–
#chonlathis_blog #spusoe_chonlathis #spusoe_teaching
simply SIGNIFICANT
www.spu.ac.th/engineer


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.