Header Ads

การสอนแบบปฏิบัติการหรือทดลอง เพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรง

วิธีสอนแบบปฏิบัติการ (Laboratory Method)


วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง เป็นวิธีสอนที่จะได้เปิดโอกาสให้บัดดี้ได้ลงมือปฏิบัติหรือทำการทดลองค้นหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้เกิด “ประสบการณ์ตรง” เพื่อพิสูจน์หรือการค้นหาความรู้ด้วยตนเอง ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง
  1. เพื่อให้บัดดี้นั้นได้ลงมือปฏิบัติหรือทดลองค้นหาความรู้ด้วยตนเองก่อน
  2. เพื่อส่งเสริมการใช้ประสบการณ์ตรงในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
  3. เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าแทนการจดจำจากตำรา
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง
  1. ขั้นกล่าวนำ
  2. ขั้นเตรียมดำเนินการ
  3. ขั้นดำเนินการทดลอง
  4. ขั้นเสนอผลการทดลอง
  5. ขั้นอภิปรายและสรุปผล
ข้อดีของวิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือทดลอง
  1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของการปฏิบัติการหรือทดลอง
  2. เป็นการเรียนรู้จากการกระทำ หรือเป็นการเรียนรู้จากสภาพจริง
  3. เสริมสร้างความคิดในการหาเหตุผล
  4. เป็นการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
  5. เป็นการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสหลายด้าน
  6. การปฏิบัติการหรือทดลอง นอกจากช่วยเพิ่มความเข้าใจในการเรียนรู้แล้ว ยังทำให้บัดดี้มีความสนใจและตั้งใจเรียนเพราะได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือทดลอง
  1. ทุกคนต้องมีโอกาสใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เท่าๆ กันจึงจะได้ผลดี
  2. ต้องกำหนดสัดส่วนจำนวนบัดดี้ต่อพื้นที่ที่ปฏิบัติการหรือทดลองให้เหมาะสม โดยปกติแล้ววิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลองทำได้กับบัดดี้ที่มีจำนวนน้อย/ครั้ง
  3. ต้องใช้เวลาพอสมควรในการเรียนรู้โปรแกรม หรือซอฟท์แวร์ใหม่ ๆ
**แต่บัดดี้ที่เข้าโครงการนี้จะสามารถออกแบบสื่อได้อย่างสวยงาม และน่าสนใจคะ

อาจารย์บุณยนุช สุขทาพจน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.