Header Ads

ทักษะแห่งอนาคต ไปสหกิจให้ได้ทักษะอะไร... ในยุคโลกป่วน?


* เมื่อหลายๆคนบอกว่าต้อง "เปลี่ยน" มิฉะนั้นจะโดน "Disruption".... แต่ไม่ได้บอกว่า ต้องเปลี่ยนไปไหน เปลี่ยนยังไง !!?!
* ทักษะอะไรที่เราต้องมี ในโลกที่ปั่นป่วน?
ได้รับโจทย์ที่ทำให้กลุ้มใจอยู่ไม่น้อย ที่ต้องรับหน้าที่บรรยายให้ "สร้างแรงบันดาลใจ" สำหรับ นศ.ที่กำลังจะไปฝึกงานสหกิจ... ที่กังวลมากๆ คือไม่รู้ว่าเด็กรุ่นใหม่ แต่ละสาขาคณะวิชาอยากฟังเรื่องอะไร ฟังแล้วจะสนุกมั๊ย จะติดตามหรือเบื่อเรามั๊ย
อีกอย่าง ... "แรงบันดาลใจ" เป็นแค่เพียงประกายไฟ จะจุดแรงปราถนาให้ติดหรือไม่ ผู้ฟังต้องมีเชื้อเพลิงในตัว และสภาพแวดล้อม ที่เสมือนอ๊อกซิเจนมาหล่อเลี้ยง (พี่ตุ้ม หมุ่มเมืองจันทร์ กล่าวไว้)​... ดังนั้น ถึงคนพูดจะยิงประกายไฟไปขนาดไหน หากผู้ฟังขาดอีกสองสิ่งที่เหลือ เปลวไฟของความปราถนาก็คงแป๊กได้ง่ายๆ
งานนี้จึงเป็นการ battle ข้ามยุคระหว่าง "วัยรุ่นยี่สิบต้นๆ" กับ "วัยรุ่นเริ่มต้นห้าสิบสดๆ"
เค้าว่ากันว่า "คำถาม สำคัญกว่าคำตอบ".. จะได้คำตอบที่ใช่ ต้องตั้งคำถามให้ถูกต้อง
ผมจึงใช้วิธีตั้งคำถามกับตัวเองเพื่อหาหัวข้อในการบรรยายครั้งนี้ว่า...
- นศ.ไป ฝึกงานสหกิจทำไม ในเมื่อเนื้อหาวิชาก็เรียนมาหมดแล้ว ออกไปทำงานจริงเลยไม่ได้หรือ ?
- อะไรคือสิ่งที่น้องๆควรเรียนรู้จากไปฝึกทำงาน และจะได้ใช้ต่อเมื่อจบไปทำงานเต็มตัว ในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นทุกๆวินาที?
พอได้คำถาม ก็เริ่มหาข้อมูลได้ง่าย​ตรงประเด็นขึ้น​ จึงได้พบว่า
"ทักษะการแก้ไขปัญหา.. ให้คน"
น่าจะเป็นทักษะแห่งอนาคต เป็นที่ต้องการและจะช่วยให้เราเกิดการปรับตัวกับสถานะการต่างๆได้เสมอ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากๆที่ ทุกๆคนควรได้ไปฝึกฝนเก็บเกี่ยว เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่โลกในการทำงานของทุกๆอาชีพ ทุกวัย และทุกๆการเปลี่ยนแปลงที่ปั่นป่วนขึ้นเรื่อยๆของโลกในอนาคต
"ไม่ว่าสิ่งที่คิดหรือทำขึ้นมาจะดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่สามารถทำให้คนที่ใช้พึงพอใจมาใช้ได้ ก็ไร้ประโยชน์"
จากการรวบรวมๆข้อมูลแนวคิดใหม่ๆ เช่น Design Thinking และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมสมัยใหม่ มาประมวลเข้ากับกระบวนการขั้นตอนการวิจัย การทำ value engineering ฯลฯ ที่คณะวิศวฯใช้เป็นข้อกำหนดให้ นศ.ทำสหกิจ ในหลายปีที่ผ่านมา พบว่าสิ่งเหล่านี้มีแนวทางหลักๆเหมือนกัน เพียงแต่วิธีสื่อสารนำไปใช้มีการปรับให้ตรงกับยุคสมัยและกลุ่มคนเท่านั้น
พอสรุปได้เป็น 2 เรื่องหลักๆ
** ประตูสู่โอกาส และ รักษามันไว้
** กระบวนการการแก้ปัญหา ให้โดนใจ
*** ----------------------
เราต้องหาโอกาส ให้คนไว้วางใจ ไปแสดงฝีมือได้... ถ้าไม่มีโอกาสแสดง "บทบาท" ฝีมือที่มีก็ไร้ค่า
** ประตูสู่โอกาส และ รักษามันไว้ 4 ประการ **
"ดูดี"... ทำตัวให้หล่อ สวย เนี๊ยบ น่าสนใจ เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดที่เปิดประตูเข้าหาคน... ไม่เหนื่อย ไม่ต้องพูดมาก ได้ผลเร็ว... ทุกๆคนชอบของสวยงาม อยากเป็นเพื่อนกับคนดูดี
"เข้าสังคม".... รู้จักคนหลากหลาย ได้พูดคุย ได้เชื่อมต่อยอดโอกาส เพราะแต่บะคนมีของ มีประสบการณ์ ที้ย่อยมาแล้ว การได้พูดคัย ได้เรียนรู้จากคน เป็น short cut สู่ความรู้ประสบการณ์ มากมาย ไม่ต้องลองผิด ลิงถูกเอง
"มีปัญญา"... เมื่อมีโอกาสแล้ว ตัวเราเองก็ต้องมี "ของ" มีความรอบรู้ หลากหลาย นอกเหนือจากทักษะวิชาขีพแกนหลัก เก็บสะสมของอยู่เสมอ ลับมีดให้คมเสมอ โดยใช้ ทักษะการแก้ปัญหา
"ทำในสิ่งที่ถูกต้อง".... การทำงานให้มีคุณภาพ ถูกต้องตามหลักวิชาการ ถูกจริยธรรม รับผิดชอบต่อลูกค้า และสังคม เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในใจคนให้สถิตไปนานๆ
*** ---------------------
** "ทักษะการแก้ปัญหา... ให้โดนใจคน" **
อนาคตจะเป็นอย่างไร... ใครจะไปรู้ แต่ทักษะที่จะสามารถทำให้เราปรับเปลี่ยนตัวเองได้ทันสมัยตลอดเวลาทีไม่กี่ข้อ
* จับประเด็น -​ เข้าเข้าใจมนุษย์
* หาวิธี -​ คิดนอกกรอบ สร้างสรรค์
* ลงมือทำ -​ทดลองทำ เก็บประมวลผล ปรับปรุง
โดยพอที่จะผนวกกับแนวคิดของ Design Thinking และ กระบวนการวิจัย เป็น 5 ลำดับ
1) จับประเด็น -​ โดยทำความเข้าอกเข้าใจ (Empathy)​กลุ่มเป้าหมาย ว่าต้องการอะไรในใจ ไม่ใช่เพราะจากการพูดหรือการกระทำเท่า... เสมือนการพยายามหา "ของขวัญ" ที่โดนใจให้แฟนหรือเพื่อนเรา
2) หาข้อมูล -​ ดูว่าคนอื่นเค้าทำอะไรกันมาบ้างแล้ว อย่าเริ่มเอง คิดเอง ใหม่ทั้งหมด เพราะจะเสียเวลากัยสิ่งที่คนอื่นทำพลาดมาแล้ว คิดเสมอว่าสิ่งนี้ น่าจะมีคนเคยคิด เคยทำมาแล้ว ให้เป็นกรอบไว้ต่อยอด... "ควรคิดนอกกรอบ แต่ถ้าไม่รู้ว่ากรอบอยู่ตรงไหน เราจะรู้ได้ไงว่าเราคิดอยู่นิกกรอบ!"... ควรเฉพาะหาข้อมูลข้ามสายพันธุ์ เช่น การพัฒนากระบวนการในห้อฝผ่าตัด อาจปรับปรุงได้โดยการใช้กระบวนการบริการรถแข่ง Formular One... ได้ข้อมูลในกรอบเดิมก็จะได้สิ่งที่ดีขึ้นในแบบเดิม ต้องมี paradime shift.
3)​ หาวิธี -​ คิดนอกกรอบ สร้างสรรค์ "ความคิดสร้างสร้างไม่ใช้สิ่งมหัศจรรย์ มีวิธีการที่ทุกๆคนสามารถฝึกฝนได้" โดย ระดมสร้างได้ไอเดียเยอะๆแล้วตัดออก การพูดคุยกับผู้คน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่หลากหลายแตกต่าง การอ่านสือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รวมถึง การเดินทางไปเห็นสิ่งใหม่ๆ สภาพแวดล้อมใหม่ๆ
4) ลงมือทำ -​ หากพลาด พลาดให้ เล็ก เร็ว และราคาถูก... ไอเดียไม่เกิดประโยชน์เลยหากไม่ลงมือทำ โดยอุปสรรคป้องกันไม่ให้ลงมือคือกลัวความผิดพลาด "ทุกคนกลัวพลาด แต่ควรกลัวเสียโอกาสมากกว่า"... การทำควรเป็นการ "ทดลองทำ" (Prototype)​ เห็นผลเร็วอราคาถูก และเรียนรู้ปรับปรุง อย่าทุ่มหมดหน้าตัก อย่าทุบหม้อข้าว เพราะเราไม่ใช่พระเจ้าตากฯ
5) สรุปรายงาน วิเคราะห์ -​ "เล่าเรื่อง" สิ่งที่ทำให้กระชับ ชัดเจน และสนุก วิเคราะห์สรุปข้อมูลจากการ "ทดลองทำ" ได้มีเหตุมีผล เป็นประโยชน์ ที่จะนำไปใช้ปรับปรุงต่อไปได้... คนส่วนใหญ่ไทยทำแล้วไม่สรุป รายงานไม่เป็น ทำให้ไม่เกิดการพัฒนาต่อ จบแล้วจบเลย ปรับตัวไม่ได้ ตัดโอกาสในการทำงานต่อเนื่องที่มี impact จริงๆ
*************
สรุป หลักการง่ายๆ ทักษะปรับตัว อยู่รอดในโลกป่วน
* เปิดประตูสู่โอกาส และรักษามันไว้ 4 ประการ
- ดูดี
- เข้าสังคม
- มีปัญญา รอบรู้
- ทำสิ่งที่ถูกต้อง
* มีปัญญาและรอบรู้ด้วย ทักษะแก้ปัญหา 5 ขั้น
- จับประเด็นเข้าใจมนุษย์
- เรียนรู้หาข้อมูล ต่อยอด
- หาวิธี คิดนอกกรอบ สร้างสรรค์
- ทดลองลงมือทำ 
- สรุป เล่าเรื่อง ปรับปรุง
*************
แนะนำแหล่ง ไอเดียดีๆ จากหนังสือ Podcast Youtube ให้ น้องๆได้เริ่มเก็บเกี่ยวกัน เมื่อมีโอกาส เป็นแหล่งที่ผมชอบส่วนตัว
- แปดบรรทัดครึ่ง -​ Podcast ตอนสั้นๆไอเดียย่อยจากหนังสือดีๆ
- The Secret Sauce -​ Podcast เนื้อหาไอเดียสมัยใหม่ เจาะลึกรายละเอียด
- TED Talk (ภาคคนไทย ก็มีไอเดียดีๆมากมาย)​
- หนังสือของ หนุ่มเมืองจันทร์ ทุกเล่ม -​ แนวคิดง่ายๆ ทันสมัย
- Outliner -​ เก่งเกิดขึ้นได้โดยกฏ 10,000 ชม.
- Sapien -​ เข้าใจความเป็นมนุษย์อย่างลึกซึ้ง




ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.