Header Ads

หลักการของ ASSESSMENT




เรียนวัดผล UC Berkeley ครับ เข้ามาอธิบายเรื่อง assessment ที่น่าจะใช้ได้ในช่วง COVID-19 ระบาด และเรียน online กันครับ แล้วก็ถือโอกาสนี้ชักชวนให้เปลี่ยนวิธี assess ต่อไปในอนาคตครับ 

1. Assessment ตามนิยามของสภาวิจัยแห่งชาติของอเมริกา คือ กระบวนการเก็บรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน แล้วใช้หลักฐานเหล่านั้นบอก learning progression ของนักเรียน และใช้บอก achievement ของนักเรียนด้วยครับ

2. ถ้าเรามีหลักฐานบอก learning process ได้ เราก็จะมีหลักฐานบอก learning outcomes ได้ด้วยครับ แต่ถ้ามีหลักฐานอย่างหลังแบบเดียว อาจจะ บอกอย่างแรกไม่ได้ครับ 

3. หลักฐานที่ว่าก็คือ student responses ที่มีระหว่างที่เรียน online และที่ส่งกลับมาเมื่อครูให้ assignment ครับ 

4. ตัวอย่าง 1 เช่น ระหว่างที่ครูสอน online ให้นักเรียนพิมพ์คำถามกลับมาใน chatbox ครับ อย่างน้อยคนละ 1 คำถาม แล้วก็ให้นักเรียนช่วยกันตอบครับ response คือ คำถาม และ คำตอบ แบบนี้ก็บอก learning process ได้ครับ 

5. ตัวอย่าง 2 สลับให้นักเรียน share screen ตั้งคำถามหลังจากที่ครูพูด หรือหลังจากที่เพื่อนนำเสนอเสร็จ ก็ได้ครับ แล้วช่วยกันตอบ ได้หลักฐานบอก learning process ครับ 

6. ตัวอย่าง 3 ให้การบ้านไปทำ แล้วส่งภายในเวลาที่กำหนด การบ้านพวกนี้ อย่าถามความจำ หรือเปิดหนักสือแล้วตอบมานะครับ ให้ตั้งคำถาม “วัดความสามารถในการใช้ความรู้” ที่มันปรากฏในหนังสือ ใน handout ครับ 

7. ตัวอย่าง 4 ครูมีข้อสอบแล้ว เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก A B C D มี 3 ทางเลือกครับ ทำภายในเวลาที่กำหนด ทำพร้อมกัน 

4.1 ให้นักเรียนทำ แต่ให้นักเรียนตอบมาว่า แต่ละตัวเลือก ถูกหรือผิด แบบนี้แล้ว จะมีรูปแบบคำตอบทั้งหมด 16 รูปแบบ เช่น A B ถูก ดังนั้นรูปแบบคำตอบที่ถูกต้องคือ TTFF ถ้าตอบแบบนี้มา ได้คะแนนเต็มข้อนั้น ถ้าตอบ เช่น TFFT คือ รู้ว่า A ถูก แต่เข้าใจว่า B ผิด D ถูก แล้วก็รู้ว่า C ผิด แบบนี้เข้าใจบางส่วน ให้ครึ่งคะแนน ตามแต่ตกลงกันครับ ถ้าตอบว่า FFTT แบบนี้คือไม่รู้เรื่องรู้ราวเลย เอาไป 0 คะแนนครับ 

4.2 ให้นักเรียนทำ แต่ให้ตอบว่า ตัวเลือกที่ผิด ผิดเพราะอะไร ถูกเพราะอะไร ให้ตอบสั้นๆ 2-3 ประโยค ถ้าให้เหตุผลถูก ตอบถูกด้วย ก็ได้คะแนนเต็มไปครับ ถ้าไม่ใช่ ก็หักคะแนนไปครับ ตามสัดส่วนครับ แบบ 4.1 และ 4.2 แม้ว่าครูจะสร้างข้อสอบวัดความจำ เข้าใจเบื้องต้น แต่ถ้าเพิ่มให้มีคำอธิบายแบบ 4.2 จะทำให้ข้อสอบวัดความเข้าใจระดับที่สูงขึ้นได้ครับ ถ้าวัดแบบ 4.1 สามารถวินิจฉัยนักเรียนได้ครับว่า เข้าใจอะไร ไม่เข้าใจอะไร 

4.3 ให้นักเรียนทำ แต่เพิ่มข้อสอบเขียน 1 ข้อ กำหนดเป็นสถานการณ์ใหม่ให้นักเรียนได้ใช้ความรู้จากที่ทำข้อสอบเลือกตอบ แบบนี้ก็วัดความเข้าใจขั้นสูงขึ้น แล้วใช้ข้อสอบเขียนเป็นตัว validate ข้อสอบแบบเลือกตอบ ให้น้ำหนัก/สัดส่วนคะแนนรวมไม่เท่ากัน ก็ได้ครับ 

8. สำหรับผม นักเรียนลอกกันไม่แปลก จะแก้ได้ ถ้าครู assign ให้ทำร่วมกันกับเพื่อน เป็น collaborative task ครับ และถือว่าฝึก collaborative skill ด้วยครับ 

9. สำหรับผม นักเรียนเปิดหนังสือไม่แปลก เพราะความรู้มีทั่วไปใน internet ถ้าเราจะฝึกให้มี inquiry skill ก็แค่บอกว่า ให้ค้นจาก internet ระหว่างทำข้อสอบ หาตัวอย่าง หาสถานการณ์ที่สามารถใช้ความรู้ในข้อนั้นๆ แก้ไขปัญหา 

หวังว่าจะช่วยได้บ้างนะครับ 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก fb: Weeraphat Suksiri

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.