Header Ads

“สุขใจที่ได้ให้ สบายใจที่ได้รับ” Startup แห่งการแบ่งปัน ทางเดียวกัน-ไปด้วยกัน LILUNA


เมื่อวันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกันจัดเสวนา Tech Talk Season 5 #1 ในหัวข้อ "สุขใจที่ได้ให้ สบายใจที่ได้รับ" Startup แห่งการแบ่งปัน ทางเดียวกัน-ไปด้วยกัน Liluna แบรนด์ธุรกิจ Social Enterprise เพื่อสังคม โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ คือ คุณนัฐพงษ์ จารวิจิตร CEO บริษัท Systemmetric Innovation (Thailand) ณ ห้อง Auditorium 1 อาคาร 40 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม พอสรุปประมวลความได้ดังต่อไปนี้


คุณณัฐพงษ์ เล่าว่า ทุกคนคงรู้จักคำว่า Startup แอพพลิเคชันต่างๆ ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มาจาก Startup แม้แต่ Facebook ก็เป็น Startup ด้วยเช่นกัน ความหมายของ Startup นั้นคือ จะต้องมีการ Scale ได้ คือ สามารถทำซ้ำได้ ผมเองเป็นนักธุรกิจ แต่ตัวผมเองก็ยังบอกตนเองว่า ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ก็ถือได้ว่าย่างเข้ามาสู่ Startup แล้วในระดับหนึ่ง ในช่วงที่ตนเองเรียนหนังสืออยู่ เรียนวิชาต่างๆ มากมาย ก็คิดว่าเรียนไปแล้วไม่ได้ใช้ เรียนไปทำไม ต่อมาได้ไปเรียนฟรีที่ประเทศเยอรมนี เขาไม่รับชั้น ม.6 ภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ ภาษาเยอรมันก็ไม่ได้ ต้องช่วยเหลือตนเอง มันเหมือนคนที่ถูกจับโยนลงน้ำ อยู่เยอรมัน 1 ปี สอบเข้า ม.6 สมัครเรียนปี 2 ก็ไม่ได้ เพื่อนเรียนชั้นปี 3 แล้ว อ่านหนังสือไม่เป็น ตอนนั้นอายุ 23 ปีแล้ว นั่งร้องไห้ ต่อมามีความตั้งใจมากขึ้น อ่านหนังสือจนจะอ๊วก ก็เลยสามารถสอบผ่านได้ เรียนจบที่ประเทศเยอรมัน สมัครเข้าทำงานในเยอรมัน ได้เงินเดือน 130,000 บาท หยุด 28 วันต่อปี อยู่ประเทศเยอรมันเข้าทำงานกี่โมงก็ได้ ออกจากงานกี่โมงก็ได้ เข้าเว็บไซต์ Lazada ซื้อรองเท้าไปเที่ยวที่ประเทศฝรั่งเศส เลยคิดว่า “นี่ไม่ใช่ชีวิตเรา” อยู่ประเทศเยอรมัน 3 ปี ตอนอยู่ที่ประเทศเยอรมันก็ทำงานตามที่เขาสั่ง เหลือเงินอยู่ 100,000 บาท จึงเดินทางกลับประเทศไทย พอกลับมาที่ประเทศไทยก็อยุ่เฉยๆ แต่ได้ยินคำว่า Startup ตนเองเคยเป็นโปรแกรมเมอร์ หรือSoftware Developer พัฒนาแอพพลิเคชันที่เยอรมันมาก่อน ในส่วนของ Model การทำธุรกิจนั้นตนเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องมากนัก แต่อยากทำ Application ให้คนอื่นใช้ เมื่อกลับมาเมืองไทย ทำงานพัฒนา Application อยู่ 6 เดือน ไม่ได้ทำอะไร แม่เคยถามว่า เมื่อไหร่จะทำงาน มีแฟนๆ ก็บอกเลิก ไม่มีอนาคต ไม่รู้ว่าจะไปบอกพ่อแม่ว่าอย่างไร ตอนทำ Application อยู่ 6 เดือนนั้น ได้ดึงน้องคนหนึ่งเข้ามาช่วย โดยให้เงินเดือนเขาเดือนละ 25,000 บาท การทำงานนั้น ต้องทำงานเป็นทีม ต้องรู้จักเทคนิคโน้มน้าวจิตใจผู้อื่น ต้องมีความสามารถดึงคนเก่งเข้ามาทำงาน ต้องมี Skill อย่างใดอย่างหนึ่งที่มีความจำเป็น การทำ Startup นั้น ต้องมีเรื่องสำคัญอยู่ 3 เรื่อง คือ (1). Paint Point (2). Business Plan และ (3). Finance

ในลำดับต่อมา ก็มีโอกาสได้รู้จักกับ Startup ชาวมาเลเซีย เขามีลูกน้องมาด้วย เขาเคยอยู่ประเทศเยอรมันมาเหมือนกัน และเขารู้จักคำว่า คาร์พูล (Car Pool) หรือทางเดียวกันไปด้วยกัน ได้ทุนกลับมา 1 ล้านบาท เขาเคยรับทำงานโปรเจคตอนอยู่ต่างประเทศมาแล้วหลายโครงการหลายแสนบาท เมื่อเขาได้เงินมาแล้ว 1 ล้านบาททำอย่างไร ที่เขาบอกมีแต่ประสบความสำเร็จ แต่ที่ล้มเหลวเขาไม่ได้บอก มีคนติดตามเพจของเขาเป็นหลักล้าน ชื่อ เพจจ่า Drama-Addict ได้มีคนรู้จักผ่านสื่อช่องต่างๆ ก็ลองเขียนจดหมายไปหาเขาที่เพจจ่านั้น และให้เขาช่วยลงข้อมูลเกี่ยวกับแอพพลิเคชัน LILUNA ให้ เขาก็บอกว่า เขาสามารถลงให้ได้ แต่ต้องเสียเงินเป็นแสนบาท พอได้ลงเพจจ่าของเขาปรากฏว่า สื่อต่างๆ มาขอสัมภาษณ์ ต่อมาก็เขียนไปหาสื่อหนังสือพิมพ์ไทยรัฐว่า ช่วยเชิญผมไปสัมภาษณ์ได้ไหม เขาตอบกลับมาว่า ให้ไปสัมภาษณ์ได้ ลิลูน่า (LILUNA) จึงเป็นที่รู้จักมากขึ้น เงินก็ใกล้จะหมดแล้ว แต่มีบริษัทหนึ่งอยากเอาแอพพลิชันนี้ไปใช้ คือ คอนโดแห่งหนึ่ง และจึงทำให้ได้เงินกลับมาอีก 1 ล้านบาท

ลิลูน่า (LILUNA) เป็นแอพพลิเคชันในรูปแบบทางเดียวกันไปด้วยกัน ประหยัดค่าใช้จ่าย เจ้าของรถสมัครใจเข้ามา ซึ่งจะเข้ามาช่วยแชร์ค่าใช้จ่าย ค่าน้ำมันรถต่างๆ และลดปัญหาการจราจรติดขัด คนอื่นๆ ที่ไม่มีรถอยากเดินทางไปด้วย บางคนอาจช่วยค่าน้ำมัน หรือไม่ให้ก็ได้ ลิลูน่า เป็นแอพพลิเคชันคล้ายกับ Grab จุดเริ่มต้น “ลิลูน่า” เกิดจากความต้องการที่จะทำสตาร์ทอัพอยู่แล้ว และอยากแบ่งปันน้ำใจ เลยพยายามมองหาไอเดียว่าจะทำอะไรได้บ้าง ซึ่งขณะนั้นได้พักอาศัยอยู่ที่คอนโด เวลาขับรถออกไปทำงานก็มักจะเห็นเพื่อนร่วมคอนโดหลายคนที่ไม่มีรถ แล้วต้องมานั่งรอรถประจำทางหรือแท็กซี่นานๆ เลยคิดขึ้นมาว่าเราอยากช่วยพวกเขาเนื่องจากรถเราก็มีที่นั่งว่างอยู่ "ผมเคยเรียกคนขึ้นรถ พี่ไปด้วยกันมั้ย ผมผ่านทางนี้นะ แต่เขาก็ไม่ไป ไม่ใช่เพราะเขาไม่ผ่าน แต่เรามองว่าที่เขาไม่ไป เพราะเขาอาจเกรงใจหรือไม่เชื่อใจ” ทำให้คิดต่อว่าหากสามารถพัฒนาระบบส่วนนี้ให้มีความน่าเชื่อถือ มันจะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมาก จึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำมาเป็นฟรีแลนซ์ เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชันนี้อย่างจริงจังตั้งแต่กรกฎาคม ปี 2559 เพราะต้องการโฟกัสกับมันอย่างจริงจัง “สิ่งที่เราริเริ่ม ไม่ได้เกิดจากการนำเอาตัวเงินเป็นที่ตั้ง เรามองว่าสิ่งที่ทำควรจะสร้างคุณค่าต่อสังคม ส่วนเรื่องเงินเมื่อเราประสบความสำเร็จมันก็จะตามมาเอง ต่างจากสตาร์ทอัพทั่วไปที่นำเรื่องเงินมาเป็นที่ตั้งและแนวคิดแบบนี้เมื่อเอาไอเดียไปแข่งขันที่ไหนก็จะทำให้แพ้ตลอด มีคนถามว่าเราจะมีวิธีหาเงินยังไงกับการทำแอพนี้ เราเองก็ตอบไม่ได้ เพราะมันยังไม่มีความชัดเจน แต่ที่ทำเพราะคิดแล้วว่ามันมีประโยชน์ เพียงแค่นั้นเราก็ทำแล้ว” “ลิลูน่า” ถือเป็นตัวกลางสำหรับคนขับและผู้เดินทาง ที่มีเส้นทางการเดินทางร่วมกัน โดยการคิดราคา เราแนะนำให้กะเอา เช่น เราขับไปจากจุดนี้ถึงจุดนี้ มีค่าน้ำมัน 100 บาท เราก็อาจหารค่าน้ำมันจากเขาคนละ 50 แล้วอีก 50 บาทเป็นค่าให้บริการ นี่ก็จะเป็นอีกช่องทางที่จะทำให้เราประหยัดและสร้างรายได้ ซึ่งคนขับจะเป็นคนกำหนดเส้นทางเอง ปัจจุบันเปิดมา 6 เดือนแล้ว มียอดดาวน์โหลด “แอพพลิเคชันลิลูน่า” สูงถึง 60,000 ยูสเซอร์ โดยมีคนขับกว่า 2,000 ราย และมีคนมาสร้างเส้นทางกว่า 30 เส้นทางต่อวัน (https://smartsme.co.th: May 29, 2020) มีตัวอย่างทหารหนุ่มคนหนึ่งที่ใช้แอพพลิเคชันนี้ โดยได้เดินทางจากจังหวัดราชบุรีไปสมุทรสาคร ได้เพื่อนร่วมทาง กรมขนส่งทางบกบอกว่าเป็นเรื่องที่ดี เช่น การรับนักเรียน เป็นต้น แต่ถ้าทำแล้วหากมีแง่มุมทางธุรกิจขึ้นมาอาจเสี่ยงต่อการกระทำความผิดทางกฎหมายได้ ต่อมาแอพพลิเคชันนี้ได้ออกข่าวช่อง 7 ปรากฏว่า มียอดวิวเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านวิว นี่เป็นการเข้ามาถึงระดับหนึ่งจะมีคนมาซื้อ ลิลูน่า การทำแอพพลิชันแบบนี้เป็นการให้อย่างเดียว คือ “ความสุขใจที่ได้ให้ สบายใจที่ได้รับ” ดังนั้น การทำ Startup นั้นสิ่งสำคัญที่ต้องมี คือ (1). Paint Point หมายถึงสิ่งที่ทำให้เราเจ็บปวด เช่น การโบกรถแท็กซี่แล้วเขาไม่รับ (2). Venture Capital (VC) แหล่งเงินทุน (3). Solution เช่น ชานมไข่มุก ไม่มีแคลอรี่ และน้ำตาล (4). Value Chain หรือห่วงโซ่แห่งคุณค่า (5). Cost structure sample ต้นทุนของธุรกิจ มีหลายโครงการมีเงินให้ มีโค้ชให้ ต้องทำ Cash Flow ให้เขาดู เช่น การจะหาเงินจำนวน 10 ล้านบาท เวลานักลงทุนจะมาลงทุนให้กับใครนั้น เขาต้องดูทีมงานว่าเป็นอย่างไร น่าเชื่อถือหรือไม่ เช่น ทีมงานวิศวะ-บริหาร-ไอที ชวนกันมาทำ หาคนที่อยู่ต่างคณะมาเติมเต็ม สำหรับแอพพลิเคชันลิลูน่า จะไปทางไหน คนที่เขาจะไปทางเดียวกันเขาก็จะทักเข้ามา ไม่ค่อยมีเรื่องร้ายแรงอะไรเกิดขึ้น เพราะมีข้อมูลตอนลงทะเบียนในแอพพลิเคชันอยู่แล้ว ซึ่งทางเราใช้วิธีการยืนยันตัวตนเจ้าของรถด้วยสำเนาทะเบียนรถใบขับขี่ ส่วนคนที่จะอาศัยไปด้วยต้องยืนยันตัวตนด้วยหมายเลขโทรศัพท์ ทดลองดาวน์โหลดแอพพลิเคชันมาดูก็ได้ สรุปการทำ Startup ต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ (1). Scale นั่นหมายความว่า Startup คือธุรกิจแนวใหม่ที่ขยายได้ สามารถทำซ้ำได้ (2).Business Model ตัวแบบการทำธุรกิจ เช่น รายได้จะมาจากไหน และ (3). Finance แหล่งเงินทุน สร้างไอเดียดีๆ แล้วนำเสนอให้นักลงทุนเอาเงินมาลงทุนในธุรกิจ.

บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพล พรหมมาพันธุ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.