จองคิวร้านดัง ไม่ต้องรอกับ App QueQ
เมื่อวันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง จัดเสวนาพิเศษ Tech Talk Season 5#5 ในหัวข้อ "จองคิวร้านดังไม่ต้องรอกับ App QueQ" โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ คือ คุณรังสรรค์ พรมประสิทธิ์ (โจ้) CEO & Co-Founder บริษัทคิวคิว (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท วาย เอ็ม เอ็ม วาย จำกัด – YMMY ณ ห้อง Auditorium 1 อาคาร 40 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม พอสรุปประมวลความได้ดังต่อไปนี้
สำหรับ App QueQ เป็นแอปพลิเคชันจัดการเรื่องการจองคิว และการนัดหมายล่วงหน้าที่ช่วยให้ร้านอาหาร โรงพยาบาล ธนาคาร และองค์กรต่างๆ สามารถจัดการเรื่องการจองคิวได้ล่วงหน้าโดยไม่ต้องเสียเวลารอคอย QueQ แอปพลิเคชันที่ช่วยจองคิวร้านอาหารดังๆ หรือธนาคารภายในระยะทาง 2 กิโลเมตร เป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่ช่วยให้การจองคิวร้านอาหารหรือธนาคารเป็นเรื่องง่าย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นและยังมีส่วนลดมากมายใน App QueQ พร้อมกับฟีเจอร์ใหม่ QueQ Take-away ให้เราสั่งอาหารกลับบ้านโดยไม่ต้องยืนรอคิว สามารถใช้เวลาระหว่างการรอคิวไปเดินช้อปปิ้งเพลินๆ และรอรับการแจ้งเตือนเมื่ออาหารเสร็จ สะดวกสบายสุดๆ การจองคิวร้านอาหารเพียงแค่ ใส่จำนวนที่นั่ง แล้วก็กดปุ่มจองการจองคิวธนาคารเพียงเลือกประเภทธุรกรรมทางการเงินและกดปุ่มจองคิว และทุกอย่างก็สำเร็จ ตอนนี้ QueQ มีมูลค่า 300 ล้านบาท และต่อไปจะเพิ่มเป็น 1,500 ล้านบาท เพราะมีคนระดมทุนเข้ามา ในตอนทำ Software House จะทำให้มองเห็นภาพมากยิ่งขึ้น คือ จะมีการรับ Project มาทำ App QueQ ตอนนี้ ขยายขอบเขตออกไปถึง 6-7 ประเทศ เช่น ญี่ปุน มาเลเซีย ใต้หวัน การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ Software House นั้น เหมือนกับการสร้างตึก การทำ Startup นั้นเมื่อขยายขอบเขตออกไปมากเท่าไร กำไรก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ในเรื่องของ Startup นั้น มี 2 สิ่งที่สำคัญ คือ (1). Scalable และ (2). Repeatable เนื่องจาก 2 สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับสตาร์ทอัพ แต่เชื่อเลยว่าสตาร์ทอัพไทยจำนวนมาก ยังไม่เข้าใจถึงสิ่งนี้ แล้วทำไมจึงควรรู้ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มลงมือทำธุรกิจ เพราะถ้าหากไม่รู้ไม่ได้วางแผนคิดเอาไว้ หรือคิดได้ช้าจะส่งผลให้ในวันข้างหน้าต้องหยุดกิจการกันเลยทีเดียว ในเว็บไซต์ www.ais.co.th ได้เขียนเอาไว้ว่า Scalable และ Repeatable คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ Steve Blank ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งสตาร์ทอัพ ให้คำนิยามสตาร์ทอัพไว้ว่า “A startup is an organization formed to search for a repeatable and scalable business model” แปลได้ว่า “สตาร์ทอัพคือกิจการที่ตั้งขึ้นเพื่อค้นหาโมเดลธุรกิจที่ทำซ้ำได้ (Repeatable) และขยายตัวได้ (Scalable)” สิ่งแรก คือ Scalable แปลตรงตัวเลย คือ การ “ขยายตัวได้” ซึ่ง Scalable นั้นมีทั้งแนวตั้ง (Vertical Scale, Scale Up) และแนวนอน (Horizontal Scale, Scale Out) ยกตัวอย่างเช่น การเปิดร้านชานมไข่มุก การ Scale Up คือ การขยายร้านจากเดิมที่มีห้องเดียว ก็เพิ่มเป็น 2 ห้องแถว และเมื่อเพิ่มขยายร้านให้มีประสิทธิภาพแล้วกำไรก็จะเพิ่มขึ้น สเกลแบบนี้จะได้ฐานลูกค้าเดิมแต่คุณภาพเพิ่มขึ้น ส่วน Scale Out ก็คือ การเปิดสาขาใหม่สเกลแบบนี้จะได้ฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น ถ้ามาทางฝั่งสตาร์ทอัพ การ Scale Up คือ การเพิ่มฟีเจอร์ให้กลุ่มลูกค้าเดิมได้ใช้มากขึ้น มีวิธีให้ลูกค้าจ่ายเงินมากขึ้น การ Scale Out คือ การขยายฐานลูกค้าไปตลาดต่างๆ มากขึ้น จากเดิมอาจจะเริ่มแค่ที่ไทย ก็ขยายไปต่างประเทศ เป็นต้น ส่วนสิ่งที่สอง คือ Repeatable หลายครั้งที่มีคนตั้งข้อสงสัยว่า แอปพลิเคชันหลายตัวที่ปล่อยออกมา มียอดโหลดเป็นล้านภายในไม่กี่วัน แต่กลับมีมูลค่าทางการตลาดที่ไม่สูงอย่างที่คิดเป็นเพราะอะไร? คำตอบ คือ สาเหตุมาจากการที่แอปพลิเคชันนั้น "ไม่สามารถ Repeatable” ได้นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชัน LINE ที่หลายคนคงเคยเสียเงินซื้อธีมไลน์ ซื้อสติกเกอร์ไลน์อยู่เรื่อยๆ นั่นหมายความว่า แอปพลิเคชันนี้สามารถ Repeatable ได้และมีมูลค่าทางการตลาดสูงอยู่ตลอด ไม่ว่าสตาร์ทอัพจะออกแบบผลิตภัณฑ์มาดีแค่ไหน จะมียอดดาวน์โหลดที่สูงเท่าไหร่ แต่หากไม่เกิดการเข้าใช้งานซ้ำ (Repeatable) ของลูกค้าไปนานๆ ธุรกิจอาจมาถึงทางตันได้ในที่สุด หรือที่เรียกว่าจุดอิ่มตัวของธุรกิจ
นอกจากนี้คุณโจ้ ยังเล่าต่อไปว่า ที่บริษัทมีการะดมไอเดียกันว่าจะทำอะไร และมีอยุ่ช่วงหนึ่งที่บริษัทเคยทำเรื่อง Mobile Banking และตัวเองเคยเดินเข้าไปใน Bank และเห็นว่า มีคนรอคิวกันเป็นจำนวนมาก บางครั้งใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง จึงมีแนวความคิดว่าจะทำอย่างไรดีที่จะทำให้การจองคิวรวดเร็วขึ้น จึงทำให้เกิดไอเดียที่จะทำเรื่องการจองคิวขึ้นมา จุดที่ทำให้เกิดความคิดนี้ คือการเป็นคนช่างสังเกต สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) เขารู้จักคนมากกว่าคน รู้จักคนแบบลึกๆ มากกว่าคนธรรมดาทั่วไป บริษัท Apple คิดเรื่องนี้ได้ตั้งแต่อยู่ในโรงรถ การจะทำ Startup ได้นั้น ต้องหาทีมงานใน 3 เรื่องคือ (1). ทีมงานคนไอที (Information Technology) (2). ทีมงานบริหาร (Business) และ (3). UX/UI (User Experience/User Interface) นอกจากนั้น ยังต้องคำนึงถึงเรื่อง การหาเงิน การทำ Branding และการคิด Product IT หลังจากนั้นก็สร้างมันขึ้นมา สตีฟ จอบส์ และสตีฟ วอซเนียก 2 คนนี้ เป็นทั้ง UX/UI .ในเวลาเดียวกัน สตาร์ทอัพนั้น ส่วนหนึ่งมาจาก Software House
Application QueQ ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา ตลาดแรกเลือกร้านอาหารที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก ตลาดแรกจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกเราว่า จะรอดหรือเจ้ง และโชคดีที่เราเลือกทางถุก ส่วนปัญหาของ App QueQ คือ ตอนเข้าประกวดเรื่อง QueQ ตอนแรกตกรอบ ต่อมาได้รับรางวัลแรก คือ สวทช. ต่อมา คือ AIS ได้รางวัล Popular Vote เป็นเงิน 10,000 บาท โครงการ “AIS The StartUp 2015” ต่อมาเป็น Flow Account ตอนนั้นได้เงิน 1 ล้านบาท ในตอนนี้เริ่มต้นได้ง่ายกว่า เช่น Startup Thailand Leak ได้เข้ารอบ ได้เงินทีมละ 30,000 บาท ถ้าใครอยากจะเป็น CEO ต้องเรียนรู้ที่จะเติบโตเร็ว รู้หลายอย่าง ตอนที่ยังจนๆ อยู่ ไม่ค่อยมีปัญหาอะไรมากนัก แต่พอตอนรวยๆ เริ่มมีปัญหา ต้องคุยกันให้ชัดเจนกับหุ้นส่วนว่าจะแบ่งหุ้นกันอย่างไร โดยเฉพาะตอนที่บริษัทเติบโตขึ้น เป็น CEO ต้องเก่ง App QueQ แนวคิด คือการขยายตัวออกไปยังต่างประเทศ เราสร้าง Startup ขึ้นมาต้องออกนอกประเทศ VC ส่วนใหญ่อยู่ต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มี Unicorn และเวียดนามด้วย ส่วนถ้าอยู่ในประเทศไทย จะหาตลาดยาก Application Line เติบโต 3 ประเทศ คือ ไทย ใต้หวัน และเกาหลี Application Line ต้นกำเนิดคือประเทศเกาหลี และไปเติบโตที่ประเทศญี่ปุ่น ที่เติบโตเร็วสุดๆ ในตอนนี้ คือ สติกเกอร์ โดยเฉพาะประเทศไทยมีใช้สติกเกอร์กันอย่างแพร่หลายมาก.
บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพล พรหมมาพันธุ์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ไม่มีความคิดเห็น