Header Ads

Trend IT 2018 Live สดทันที ที่มีเรื่องกับหนุ่ยแบไต๋

     เมื่อวันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ร่วมกันจัดเสวนาพิเศษ Teck Talk #9 ในรายวิชา BUS200, CSC200 และ CSE200 บัณฑิตในอุดมคติ ให้ความรู้กับนักศึกษา เรื่อง “TREND IT 2018 Live สดทันที ที่มีเรื่องกับหนุ่ยแบไต๋” โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ คือ คุณพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ (หนุ่ย) กูรูด้านไอที ให้เกียรติร่วมถ่ายทอดความรู้ เผยเทรนด์ไอทีในปี2018 แบบหมดเปลือก เพราะเทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนธุรกิจ อุตสาหกรรม และทุกๆ สิ่งรอบตัวเรา ด้วยนวัตกรรม ปัญญาประดิษฐ์, บล็อกเชน, Internet of Things, Robots เป็นต้น ณ ห้อง Auditorium 1 ชั้น 14 อาคาร 40ปีศรีปทุม มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม.(บางเขน) พอประมวลสรุปความได้ดังต่อไปนี้


ด้วยในปัจจุบัน เทคโนโลยีเปลี่ยนไปรวดเร็วมาก การทำงานของคนเรากับโลกกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป ตอนเมื่อเกิดอีเมลขึ้นมาใหม่ๆ ทุกคนส่วนใหญ่ก็ใช้อีเมล แตตอนนี้ไม่ค่อยจะเปิดอีเมลอ่านกันแล้ว ตัวอย่างอีเมล์ของคุณหนุ่ยเอง มีอีเมลค้างอยู่กว่า 60,000 ฉบับ เดี๋ยวนี้ก็ติดต่อกันผ่านช่องทางอื่น เช่น ทาง Line โดยการพิมพ์ข้อความติดต่อสื่อสารกันทำให้ได้รับความสะดวกสบาย แม้ว่า อาจจะทำให้ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเพี้ยนไปบ้างก็ตาม ปัจจุบันมีเทคโนโลยี และ Applications ใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เรียกกันว่าเป็นสิ่งก่อให้เกิด Disruptive คือ การทำลายล้างระบบเดิมที่เคยเป็นมา เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน, การจองห้องพักโรงแรม เป็นต้น ในปี ค.ศ.2018 เหลือเวลาอีกไม่นาน โลกอาจจะปักธงกันเอาไว้ในปี ค.ศ.2020 ในเรื่องของ Internet of Things (IoT) ประเทศใกล้รอบบ้านเราไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเชีย, สิงคโปร์, มาเลเซีย ซึ่งประเทศมาเลเซียไปไกลกว่าเรานานแล้ว หรือแม้กระทั่งประเทศเวียดนาม ทุกประเทศล้วนมีแผนรองรับเอาไว้หมดแล้ว ส่วนในประเทศไทยเราก็มีแผนเหมือนกันที่จะรองรับในเรื่องนี้ นั่นคือ Thailand 4.0 ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Thailand 4.0 เรื่องนี้เป็นเรื่องของความตั้งใจที่ดีมากของรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งก็คือ การนำเอา Innovation มาใช้นั่นเอง ก่อนหน้าเราอาจเคยได้ยินคำว่า Creative Economy, Digital Economy พอเปลี่ยนรัฐบาลทีหนึ่งเราก็จะได้ยินแคมเปญใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ แต่คำๆ นี้คือ Thailand 4.0 น่าสนใจมาก คนที่พูดเป็นคนแรกคือนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประกาศขึ้นมา และเบื้องหลังกระทรวงการคลัง คือ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ก็คิดให้ทะลุมากขึ้น แต่ก่อนจะมาถึง Thailand 4.0 นั้นก็ต้องมาดูวิวัฒนาการกันก่อน  Thailand 4.0 เริ่มมีมาตั้งแต่ Thailand 1.0  คือยุคเกษตรกรรม เน้นการผลิต การขายพืชพันธุ์ทางการเกษตร เช่น ขายข้าว ขายพืชผัก พืชไร่ สุกร เป็ด ไก่ เป็นต้น เราคงเคยได้ยินเพลงที่เปิดทางทีวีช่อง 7 สี ที่มีข้อความว่า กสิกรแข็งขันคือกระดูกสันหลังของชาติ ไทยจะเรืองอำนาจ เพราะเราเป็นชาติกสิกรรม แต่จริงๆ แล้ว เราจะเรืองอำนาจได้ไหมครับ เห็นมีแต่ธนาคารกสิกรไทยเท่านั้นที่เรืองอำนาจจากการเก็บดอกเบี้ย เพราะประชาชนที่เป็นชนชั้นกสิกรรมไม่สามารถจะสร้างแต้มต่อทางด้านเศรษฐกิจได้ ต่อมาเข้าสู่ยุค Thailand 2.0 ยุคอุตสาหกรรมเบา เน้นการผลิตสินค้าที่มีน้ำหนักเบา เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องใช้ทุนมากนัก เช่น การผลิตเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า กระเป๋า เครื่องดื่ม เครื่องเขียน การทำอาหารกระป๋อง การผลิตยา และเครื่องเวชภัณฑ์ การผลิตอลูมิเนียม เครื่องวิทยุ โทรทัศน์ การผลิตเครื่องเด็กเล่น รวมถึงการผลิตแป้งชนิดต่างๆ ในยุคนี้เป็นยุคที่นายกรัฐมนตรีของไทย คือ พลเอกชาติชาย ชุณหวรรณ ที่บอกว่าประเทศไทยจะเป็นนิค (New Industry Country)  ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ จนกระทั่งคุณแอ๊ด คาราบาวแต่งเพลง เมดอินไทยแลนด์ ต่อมาเศรษฐกิจพัฒนาเข้ามาสู่ยุค Thailand 3.0 เน้นอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก เช่น ผลิต และส่งออกขายเหล็กกล้า เช่น รถยนต์ กลั่นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมนต์ เป็นต้น และมีคำหนึ่งที่บอกว่า เราจะเป็น   ดีทร้อยด์แห่งเอเชีย คือ การผลิตรถยนต์ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ รวมไปถึงการผลิตฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเราก็ตื่นเต้นที่มีแบรนด์ต่างชาติใหม่ๆ ที่เข้ามา และแรงงานไทยก็ได้เข้าไปทำงานในอุตสาหกรรมเหล่านั้นตั้งแต่ฐานล่างสุดคือแรงงานไปถึงตำแหน่งผู้บริหาร แต่มันก็ไม่ใช่แบรนด์ของเรา สุดท้ายคือยุค Thailand 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ยึดหลัก “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศไทยมี Innovation หรือนวัตกรรม ที่เรียกว่า 4.0 เพราะไปสอดคล้องกับประเทศเยอรมันนี ที่เป็นศูนย์กลางของประเทศยุโรปที่เขาเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 แล้ว ตั้งชื่อว่า Industry 4.0 หรืออาจะเรียกว่า Machine Learning หมายถึงการสอนให้เครื่องจักรสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และคิดแทน และคิดต่อได้ด้วย ซึ่งมันก็ต้องมีคุณสมบัติหลายๆ อย่าง เราจะเห็นรูปภาพ Infographic ที่มีอุปกรณ์แต่ละชนิดมีการเชื่อมต่อกัน หรือ Connection กันนั้นนั่นเองคือ การส่งข้อมูลถึงกัน เมื่อก่อนการผลิตสินค้าออกมาเป็นจำนวนมาก ไม่ทราบว่าเหลืออีกเท่าไร ค้างอยู่ในสต็อกอีกเท่าไร แต่ยุคใหม่นี้สามารถจะทำให้ทราบได้ว่าเหลือสินค้าอีกเท่าไร และถึงเวลาจะผลิตพืชพันธุ์ทางการเกษตรเพิ่มได้หรือยัง เพราะการเกษตรเหล่านั้นมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ด้วย Internet of Things (IoT) รวมไปถึงสามารถจับความเร็วแรงลม น้ำ ฝนจะตกหรือไม่ ทางด้านการเกษตรจะผลิตทันหรือเปล่า และนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำการประมวลผลว่า จะเปิดไลน์การผลิตเมื่อไร เป็นอย่างไร สมควรจะผลิตพืชผลได้หรือยัง นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนา Application ใหม่ๆ ขึ้นมา รวมถึงการนำ Application เหล่านั้นมาใช้กับระบบธนาคาร คุณธนา เธียรอัจฉริยะ (โจ้) รักษาการ Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้รวมกลุ่มของธนาคารพยามยามที่พัฒนาสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา เพราะใกลุ่มของธนาคารมีโอกาสเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์มากที่สุด และพนักงานธนาคารก็กลัวตกงานกันมากที่สุด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนของ Application ใหม่ที่เข้ามา คือ พร้อมเพย์ (PromptPay) คือ การชำระเงินโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม และมาตรฐานใหม่อีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ การชำระเงินผ่าน QR Code ด้วยการสแกนชำระเงินระหว่างธนาคาร ซึ่งไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม


     Application ใหม่อีกอย่างหนึ่งที่ธนาคารตื่นเต้นกันมาก คือ Block Chain เหมือนกับการเข้ามาใหม่ๆ ของอินเทอร์เน็ต หากธนาคารทั่วโลกอยากมีระบบความปลอดภัยที่ดีให้เปิด Block Chain เพราะไม่มีใครสามารถเข้าไปแก้ไขอะไรได้ มีความปลอดภัยสูงมาก ใครที่ไม่ได้อยู่ในกติกาเดียวกันจะถูกคัดออกทันที และในลำดับต่อมาก็เกิด Bitcoin คนญี่ปุ่นเป็นผู้คิดค้นขึ้นมา แม้มีบางประเทศจะยังไม่ให้การยอมรับก็ตาม  Bitcoin มีการกำหนดค่าเงินเหรียญที่ตายตัว  ใครอยากมีรายได้มีเงินใช้ให้ไปซื้อ CPU ที่มีคุณภาพสูงๆ และนำมาขุด Bitcoin มูลค่าของ Bitcoin เมื่อก่อนเคยมีคนถือเอาไว้ 1 Bitcoin ปัจจุบัน ราคาขึ้นไปสูงถึง 228,000.00 บาท Bitcoin จะมีค่านั้นก็ต่อเมื่อมีคนมาซื้อ ห้างสรรพสินค้าในประเทศญี่ปุ่น มีการซื้อขายกันด้วย Bitcoin ในอนาคตจะกลายเป็นสังคมไร้เงินสด
ต่อมาเป็นเรื่องของ Startup ซึ่ง Startup นั้นต้องมี Pinpoint คือการคิดค้นขึ้นมาด้วยความเจ็บปวด เช่น ปัญหาของรถแท็กซี่ เวลาเราเรียกรถแท็กซี่แล้วเจอกับความเจ็บปวด เพราะคนขับไม่ยอมไป เพราะอ้างว่า ต้องไปส่งรถบ้าง เอารถไปเติมแก๊สบ้าง จึงทำให้เกิด Uber ขึ้นมา ดังนั้น ความหมายของ Thailand 4.0 คือ ทำน้อยแต่ได้มาก Startup จะเกิดขึ้นได้ต้องประกอบด้วยคือ (1). การเตรียมตัวดี (2). การสร้างระบบที่ดี ซึ่งสำคัญมากในยุคนี้ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ต่อไปจะมีเอไอ (AI) จะเข้ามาแทนการทำงานประจำ งานซ้ำซาก AI จะเอาไปทำหมด ส่วนการขายของออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันกำลังเติบโตมาก ต้องเตรียมการดังนี้ คือ (1). หาของที่ดีที่สุดมาขาย และมีคนเอาไปเขียนใน Pantip หรือเอามารีวิวในเฟซบุ๊ค  (2). ต้องโปรโมท เพราะบางครั้งสินค้าดี แต่ไม่มีการโปรโมทก็ไม่มีคนรู้จัก ด้วยวิธีการดังกล่าว สามารถสอนให้ AI มันฉลาด และมันจะทำให้ ต้องเป็นเจ้านายสอนมัน ดังนั้น AI นั้นคือทางรอดของการขายของออนไลน์ หากคุณต้องการมีเสถียรภาพในกาลข้างหน้าต้องเรียนรู้ AI ดังนั้น AI จึงคล้ายกับ Machine Learning นั่นเอง  และในปัจจุบัน การแพทย์ทันสมัย คนป่วยน้อยลง มีอายุยืนมากขึ้น ประชากรทั่วโลกมีประมาณ 7,200 ล้านคน ด้วยการแพทย์ที่ทันสมัยดังกล่าวจึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตมากขึ้น เช่น เมื่อคุณใส่นาฬิกา Apple Watch มันจะคอยเตือนคุณ เช่น ร่างกายกำลังขาดน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ ทาง Google Engineer ก็ได้ออก Nano Robot ซึ่งจะไปทำหน้าที่รับใช้ทุกคนได้ หุ่นยนต์ตัวเล็กจิ๋วนี้ สามารถใส่เข้าไปในเส้นเลือดและทำการรักษาโรคซึ่งจะ นำไปสู่การไม่เจ็บ ไม่แก่ และตายช้าลงหรืออาจจะไม่ตาย อีลอน รีฟ มัสก์ (Elon Reeve Musk)  ผู้ออกแบบรถยนต์ Tesla  เมื่อคนไม่ตายหรือมีคนมากจนเกินไปจนล้นโลก จึงได้ออกแบบยาน SpaceX เพื่อนำไปท่องดาวอังคาร อินเทอร์เน็ต ทำให้ทุกอย่างรวมศูนย์  เว็บไซต์ 99Design.com รวมงานออกแบบทั่วโลก ในทุก 1 หรือ 2 นาทีจะมีคนโพสต์เข้ามา แจ๊คหม่า มีความเชื่อเรื่อง e-Commerce มาก โดยการนำเอาโรงงานของจีนมาเสนอให้คนทั่วโลกใน AliExpress.com อินเทอร์เน็ตนั้น ช่วยย่นระยะเวลา ทำให้ข้อมูลมีอำนาจ ดังนั้น คนในยุคนี้ ต้องมีทักษะ คือ (1).ทักษะดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง (2). ทักษะตามโลก/ติดตามความรู้ (3).ทักษะโปรแกรมมิ่ง (4).ทักษะด้านภาษา ต้องกล้าพูด


     ท้ายสุด เป็นเรื่องของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) หมายถึงอุปกรณ์ต่างๆ จะมีการเชื่อมต่อส่งข้อมูลถึงกันได้ คากันว่าในปี ค.ศ.2020 จะมีอุปกรณ์เชื่อมต่อกัน 37 พันล้านชิ้น มีทีวี LG จอโค้ง ตู้เย็นสามารถจะบอกตนเองว่าจะหมดอายุเมื่อไหร่ การทำงานต่างๆ เช่น การถ่ายภาพ Drone จะเข้ามาแทนที่ จะมีรถไร้คนขับ มี 3D Printer เป็นต้น.

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพล พรหมมาพันธุ์
อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.