Header Ads

ถอดบทเรียน เปลี่ยนห้องเรียนสู่การสอนออนไลน์ "Team Teaching Online"


การสอนแบบ Collaborative and Coaching Instruction (CO2) เกิดขึ้นได้อย่างไร 

จากนโยบายมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่มุ่งเน้นทางด้านการพัฒนาผู้เรียน โดยผู้บริหารคณะศิลปศาสตร์ ได้มีโจทย์แนวทางสำคัญของการจัดการเรียนการสอน คือ “ต้องการให้มีวิธีการดูแลผู้เรียนสร้างรูปแบบวิธีการสอนใหม่ๆ” เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ รักและเรียนรู้พัฒนาทักษะทางด้านภาษาเพิ่มมากขึ้น และให้ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ Learning Outcome ตามที่หลักสูตรต้องการ จึงได้เกิดรูปแบบการสอนเป็นทีมแบบ CO2 ดังนี้ 

Collaborative and Coaching Instruction (CO2) หมายถึง การสร้างความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาเดียวกัน เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีผู้สอนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ของรายวิชานั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในถ่ายทอดความรู้หรือคอยให้คำแนะนำชี้แนะช่วยเหลือผู้เรียน ในประเด็นหัวข้อเนื้อหารายวิชาที่รับผิดชอบ หรือที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับรายวิชาที่สอน ผ่านการสอนออนไลน์ Application Zoom 

องค์ประกอบสำคัญของการสร้างทีม CO2 
1. รายวิชาที่นำมาบูรณาการองค์ความรู้ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และให้ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น (1) ENG112 ภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารในสังคม (2) EBC200 บัณฑิตในอุดมคติทางด้านภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจ (3) EBC231 ทักษะการฟังและการพูดทางธุรกิจ (4) EBC227 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เป็นต้น 
2. ผลลัพธ์การเรียนรู้ Learning Outcome ของแต่ละรายวิชา ให้มีความชัดเจน เพื่อการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ในการจัดแบ่งกิจกรรมรู้และความรับผิดชอบ ให้มีผลลัพธ์การเรียนรู้ ตรงเป้าหมายของหลักสูตร และตรงกับเป้าหมายของแต่ละรายวิชา โดยคำนึงการเรียนภาษาตามธรรมชาติที่เริ่มจากทักษะการรับสาร (Receptive Skills) เมื่อผู้เรียนได้รับการพัฒนาการรับสารจากการฟังและการอ่าน แล้วก็จะสามารถพัฒนาการทักษะด้านการแสดงออก (Productive Skills) ขึ้น (ดังภาพที่ 1)

ภาพที่ 1 ผลลัพธ์การเรียนรู้ จากการบูรณาการองค์ความรู้ในแต่ละรายวิชา

3. ความพร้อมสำหรับความร่วมมือของผู้สอนในแต่ละรายวิชา เพื่อร่วมกันออกแบบสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ และการแบ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ ที่สอดคล้องกับรายวิชาที่สอน คณะศิลปศาสตร์ได้เกิด Team Teaching Online ด้วยความร่วมมือของทีมอาจารย์เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนแบบ CO2 (ดังภาพที่ 2) 

ภาพที่ 2 Team Teaching Online


ขั้นตอนกระบวนการสร้างรูปการสอนแบบ Collaborative and Coaching Instruction (CO2) 
1. เป้าหมายของการสร้าง Team Teaching คือ การสร้างความร่วมมือทางด้านการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการบูรณาการรายวิชาที่มีความเชื่อมโยงเนื้อหาที่สอดคล้องกัน ซึ่งมีเป้าหมายหลักๆ ดังนี้ 
1.1 เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ Learning Outcome ตามหลักสูตร ของทุกรายวิชาที่มีการบูรณาการ 
1.2 อาจารย์ คือ เป็นวิทยาการถ่ายทอดความรู้ Facilitator และคอยชี้แนะแนวทาง ให้คำปรึกษา Coach แก่นักศึกษา คอยให้ Feedback ข้อเสนอแนะผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ 
1.3 ดูแล นักศึกษา อย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ผู้สอน คือ ทีมอาจารย์ผู้สอนต้องสามารถเปิดช่องทางการติดต่อที่เข้าถึงได้ง่าย เช่น ผ่าน Facebooks, Line, Massager เป็นต้น 
1.4 จัดการสอนเป็นทีม (Collaborative Teaching) คือ มีการจัดตารางแผนการสอนร่วมกันในแต่ละ 1 สัปดาห์ที่ชัดเจน 
1.5 ดูแล นศ อย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ผู้สอนเพื่อทราบ Progress ของผู้เรียน มีช่องทางหลากหลายในการติดตาม สอบถามและติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (ดังภาพที่ 3)

ภาพที่ 3 สรุปเป้าหมายของการพัฒนาการสอนแบบ Collaborative and Coaching Instruction (CO2)

2. ออกแบบห้องเรียนสำหรับการสอนแบบ CO2
ในการจัดการห้องเรียนเมื่อกำหนดเป้าหมายเรียบร้อย จะมีการกำหนดห้องเรียนในการสอนแบบ CO2 แบ่งห้องเรียนออกเป็น 2 ห้องเรียน ซึ่งใน 1 ห้องเรียนจะมีอาจารย์คอยดูแลนักศึกษาจำนวน 2  ท่าน อาจารย์ที่ประจำห้องเรียนก็จะแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน คือ ถ้าท่านนึงรับผิดชอบในการอธิบายทฤษฎี อีกท่านจะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือผู้เรียน โดยอาจารย์จะมีความสามารถในแต่ละทักษะภาษาอังกฤษที่ต่างกัน และทักษะด้านอื่นๆ  ยกตัวอย่าง 1 ห้องเรียนในด้านการสอนภาษาอังกฤษ ห้อง E001 จะมีอาจารย์ที่มีความสามารถ และความถนัดทางด้านการออกแบบ การจัดทำสไลด์ คลิป วีดีโอ ก็จะรับผิดชอบเพิ่มเติมและสอนร่วมกับอาจารย์ที่มีความสามารถด้านการภาษาอังกฤษ ที่อาจจะดูแลด้านเนื้อหาการสอนและการออกแบบข้อสอบ หรือวิธีการวัดผลประเมินผล เป็นต้น (ดังภาพที่ 4 )

ภาพที่ 4 รูปแบบห้องเรียนสำหรับการสอน CO2

3. หลักการปรับเปลี่ยนบทบาทผู้สอนเป็นโค้ช (Coaching Model)
การเป็นโค้ชให้ผู้เรียน ด้วยการ OPEN  คือการเปิดใจผู้สอนและผู้เรียน ในการให้ความรู้ ชี้แนะแหล่งสายงานวิชาชีพในการทำงาน โดยมีหลักการเป็นโค้ชให้กับผู้เรียน มีดังนี้
1. Observe Opportunity คือ โค้ชจะคอยสังเกตพฤติกรรม มองหาและเปิดโอกาสในการสร้างความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่ผู้เรียนสนใจเรียนรู้
2. Prepare Positive-Mindset และ Push คือ โค้ชต้องจิตใจที่ดี คิดบวก คอยเตรียมความพร้อมและผลักดันชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องให้กับผู้เรียน ได้เกิดการเรียนรู้ฝึกฝนทักษะผ่านกิจกรรมที่หลากหลายเพิ่มขึ้นสู่ความสำเร็จ
3. Educate, Empower, Execute คือ โค้ชทำหน้าที่ดำเนินการให้ความรู้ ส่งเสริมพลังการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยการอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้สู่ความสำเร็จในวิชาชีพ
4. Non-judgmental Feedback คือ โค้ชจะคอยชี้แนะให้คำปรึกษา แนวทางการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกต้องตามหลักการของสาขาวิชานั้น แต่ไม่ใช่การสรุปหรือตัดสินว่าผู้เรียนว่า ถูกหรือผิด ควรเป็นการแนะนำวิธีการศึกษาค้นคว้า หรือการเปรียบเทียบยกตัวอย่าง สร้างแรงจูงใจ ให้เห็นความแตกต่างเกิดการเรียนรู้เพิ่มเติม จนผู้เรียนได้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง (ดังภาพที่ 5) 

ภาพที่ 5 Model หลักการการปรับเปลี่ยนจากผู้สอนเป็นโค้ช

4. กระบวนการเรียนการสอน (Process of Teaching & Learning แบบ CO2)
4.1 การจัดประชุมร่วมกันกำหนดเป้าหมาย (Set clear goals) คือการประชุมทีมอาจารย์ในแต่ละรายวิชาเพื่อกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ในภาพรวมและสอดคล้องกับรายวิชาที่สอน
4.2 วางแผนบทเรียนและโครงการ (Plan lessons & project ) คือการจัดสรรเนื้อหาแต่ละรายวิชานำมาบูรณาการ และออกแบบโครงการที่มีความเหมาะสมกับเนื้อหาและความสามารถของผู้เรียน
4.3  จัดสรรบทบาทและความรับผิดชอบ (Allocate roles and responsibilities) คือการแบ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับอาจารย์ผู้สอนตามความเชี่ยวชาญ
4.4  การจัดเตรียมวัสดุ (Prepare materials) คือการจัดเตรียมอุปกรณ์สื่อเครื่องมือสำหรับการการเรียนรู้ของนักศึกษา 
4.5  เรียกใช้เซสชันการปฐมนิเทศ (Run an orientation session) 
4.6  สอบถามและให้ข้อเสนอแนะ (Ask and give feedback) คือการสำรวจสอบถามผู้สอนและผู้เรียน เพื่อขอข้อมูลข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนา Model 
4.7  ดำเนินการประเมินผลสิ้นระยะ (Conduct end-of-term evaluation)

5. กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Project based Learning ด้วยการสอนแบบ CO2 
ตัวอย่างผลลัพธ์กิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยการสอนแบบ (CO2) ในห้องเรียนปกติ

ภาพที่ 6 ตัวอย่าง 1 ผลลัพธ์การเรียนรู้ การสอนแบบ CO2



ภาพที่ 7 ตัวอย่าง 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้ การสอนแบบ CO2 ห้องเรียนปกติ

ภาพที่ 8 ตัวอย่าง 3 ผลลัพธ์การเรียนรู้ การสอนแบบ CO2 ห้องเรียนปกติ

การเรียนการสอนแบบออนไลน์ Process of Online Teaching & Learning  ในรูปแบบ CO2 
1. More less on Dlearning SPU ใช้ระบบการเรียนการสอนผ่านโปรแกรม Dlearning มหาวิทยาลัยศรีปทุม สำหรับเป็นฐานข้อมูล ลงสื่อและเอกสารประกอบการสอน เช่น สไลด์ PPT, VDO, Link QR Code, Sheet เนื้อหาความรู้, ใบงาน, แบบประเมิน เป็นต้น (ดังภาพที่ 9)

ภาพที่ 9 ตัวอย่างเอกสารในระบบ D-learning 

2.  More less on Application Zoom, Vidyard เปลี่ยนห้องเรียนปกติเป็นห้องเรียนออนไลน์ สำหรับการสอนและการสื่อสารพูดคุยสนทนา ตอบข้อซักถาม การเฉลยการบ้าน หรือการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน (ดังภาพที่ 10) 

ภาพที่ 10 ตัวอย่างห้องเรียนผ่าน Application Vidyard

ภาพที่ 11 ตัวอย่างห้องเรียนผ่าน Online Encounter

 ภาพที่ 12 ตัวอย่างห้องเรียนผ่าน App Zoom ด้วยการแชร์เนื้อหาการสอน

3. Facebook & line เป็นช่องทางสำหรับนักศึกษาในการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมส่วนตัว กับอาจารย์ผู้สอนนอกเวลาเรียนได้อย่างต่อเนื่อง และผู้สอนสามารถติดตาม ให้ข้อมูลเนื้อหาก่อนเรียน ซักถามแบบ Online & Face-to-Face ให้ Feedback นักศึกษา ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ตามโครงการต่างๆได้ ตัวอย่าง รายวิชา ENG501 ซึ่งมีเทคนิคในการทำความเข้าใจปัญหาของนักศึกษา Understanding the Problem ดังนี้ (ดังภาพที่ 13-14)
A      Transition Self-study & Prerecorded lessons
B Motivation Gamification, varying activities & participation points
C Miscommunication Transparency
D Time for Student feedback and compromise Self-study + ZOOM CLASS
E Preparation for each member for their own and their partner’s benefits

ภาพที่ 13 หน้า Facebook การสอนรายวิชา ENG501 

ภาพที่ 14 ตัวอย่างรายวิชา 501 กระบวนการสอนระหว่าง D-learning & On Zoom 

4. การเรียนรู้โดยใช้โครงงานและการประเมิน / การประเมินออนไลน์ (Project-based learning and ONLINE  Evaluations/Assessments)

ภาพที่ 15  แนวทางไดนามิกในการสอนและการเรียนรู้ ในรูปแบบ PBL

5. ผลงานนักศึกษา จากการเรียนการสอนแบบCO2 ผ่านห้องเรียนออนไลน์

ภาพที่ 16 การมอบหมายงานออนไลน์  Online Assessments ผ่านระบบ D-learning

ภาพที่ 17 ผลลัพธ์ Outcomes ของนักศึกษา จากการเรียนรู้ผ่าน Project Based Learning

ภาพที่ 18 ผลลัพธ์การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา ด้วยการเรียนการสอนออนไลน์

ภาพที่ 19 ผลลัพธ์การเรียนรู้ Final Projects ของนักศึกษาจากการเรียนออนไลน์

ภาพที่ 20 ภาพบรรยากาศการเรียนการสอนและการนำเสนอห้องเรียนปกติและในรูปแบบออนไลน์


โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ สุขวิจิตร บาร์  
และทีมอาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม


ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.