Header Ads

5G Technology & Ecosystems




สมาคมไทยไอโอที (Thai IoT Association: TIOT) ร่วมกับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Promotion Agency: depa), และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส (AIS)  ร่วมกันเป็นเจ้าภาพในการจัดงานการประชุมวิชาการนานาชาติ   Thai IoT International Conference 2019” (TIIC 1)  ครั้งที่ 1 ขึ้นในระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม พ.ศ.2562 ณ ห้อง Auditorium 2 อาคาร 40 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม  โดยมี ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน และ รศ.ดร.ณรงค์ อยู่ถนอม รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นผู้กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมงาน การจัดงานในครั้งนี้ นับว่าเป็นงานการประชุมวิชาการด้านอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) ครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นการจัดงานผสมผสานระหว่างการจัดการประชุมเชิงวิชาการนานาชาติ (Academic International Conference) การแสดงนวัตกรรมผลงานทางด้าน IoT และการแสวงหาผู้ร่วมลงทุนทางการค้า (Pitching) และการทำธุรกิจ ซึ่งนักวิจัยที่มีผลงานทางด้าน IoT สามารถนำเสนองานเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ และสามารถนำผลงานไปเสนอ เพื่อหาผู้ร่วมลงทุนในธุรกิจได้ โดยผลงานที่จะนำมาเสนอในงานนี้ จะต้องมีงานวิจัยรองรับ พร้อมต่อยอดเป็นธุรกิจ หรือนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้จริง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาผลงานวิจัยขึ้นหิ้งได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจาก Durian Corporation Co., Ltd. โดยเพิ่มเติมส่วนของการนำเสนอผลงานในรูปแบบของ Startup และ มีนักลงทุนเข้ามาพิจารณาผลงานเพื่อร่วมลงทุน ซึ่งถือว่าเป็นมิติใหม่ของการจัดงานประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติอย่างแท้จริง (www.spu.ac.th/activities/) นอกจากนี้ยังมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ "5G Technology & Ecosystem" โดยคุณวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส และหัวข้อ "Introduction and Trend" By    Mr.J Ke Program Director of HAX Shenzhen (U.S.A) 



สำหรับการแสดงนิทรรศการผลงานนวัตกรรม IoT ประกอบด้วย (1). CiRA Robotics (Center of Industrial Robotics and Automation: CiRA) ผลงานของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีฐานด้านการบูรณาการระบบ (System Integration) เพื่องานหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ และปัญญาประดิษฐ์สำหรับใช้งานในระบบอุตสาหกรรม 4.0 (CiRA CORE) และเป็นแพลตฟอร์มด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่องานหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ สำหรับใช้งานอยู่ในอุตสาหกรรมและเพื่อการบูรณาการให้ทำงานร่วมกันกับระบบอัตโนมัติสมัยใหม่ มุ่งเน้นให้เป็นแพลตฟอร์มของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ที่มีความหลากหลายรองรับควบรวมระบบหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพและสะดวกรวดเร็วลดข้อจำกัดในการเชื่อมโยงและติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ฮาร์ดแวร์: Customized Robots (โรบอท 3-4-5-6 แกนที่ปรับได้ตามลักษณะการใช้งาน, Real-time motion controllers, Time-sensitive-network gateway เป็นต้น ซอฟต์แวร์: CiRA CORE, CiRA-AI (Deep Learning video/image object detection) and AI-training system, CiRA Time series (ISTM Deep Learning for predictive maintenance), CiRA-IO Universal Interface Library เป็นต้น (2). AIS IoT or IoT Alliance Program (AIS:AIAP) AIAP เป็นความร่วมมือของพันธมิตรจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคธุรกิจเอกชน หน่วยงานภาครัฐและบุคคลทั่วไปที่สนใจในเทคโนโลยี IoT เพื่อพัฒนาความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้, สินค้า และบริการ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาร่วมกันเป็น IoT Solution และนำไปใช้งานจริงกับธุรกิจทั่วไป จนกลายระบบนิเวศ IoT ที่สมบูรณ์ของ AIAP คือ การสร้างระบบนิเวศไอโอที (Build IoT Ecosystem) ด้วยการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และเป็นพันธมิตรผ่านโครงการ AIAP เพื่อเร่งให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการ IoT ภายในประเทศ คือ เมืองอัจฉริยะ (Smart City), การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living), พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy), อุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial), รถยนต์อัจฉริยะ (Smart Car), โลจิสติกส์อัจฉริยะ (Smart Logistics) และเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture)



ในส่วนหัวข้อบรรยายเรื่อง 5G Technology & Ecosystem  ซึ่งบรรยายโดยคุณวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ พอสรุปความว่า เทคโนโลยี 5G จะทำเรื่องเหล่านี้ให้เกิดขึ้นจริง คือ (1).Big Data (2).Cloud Computing (3).Artificial Intelligence (AI) (4).5G (5).Sensor การเข้ามาเทคโนโลยี 5G จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทย พร้อมที่จะช่วยขับเคลื่อนการทำงานของประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพด้วยคุณสมบัติ (Performance of 5G) 3 ประการ คือ (1). Lots of Bandwidth ยกระดับความเร็วในการใช้ข้อมูล Enhanced Mobile Broadband (eMBB) เน้นความรวดเร็วเป็นหลัก (20x: up to 20 Gbps) ในระบบนี้จะมีการกำหนดการเข้าถึงอย่างคงที่ (Fixed Wireless Access: FWA), มีพื้นที่การทำงานร่วมกัน (Collaboration Workspace), มีการผสมผสานความจริง (Mixed Reality), มีการใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือน (Virtual Reality: VR) VR คือการจำลองสภาพแวดล้อมจริงเข้าไปให้เสมือนจริง โดยผ่านการรับรู้จากการมองเห็น เสียง สัมผัส แม้กระทั้งกลิ่น โดยจะตัดขาดเราออกจากสภาพแวดล้อมปัจจุบันเพื่อเข้าไปสู่ภาพที่จำลองขึ้นมาตัวอย่างเช่น การจำลองสถานที่ Google street view และ Augmented Reality (AR) AR คือ การรวม สภาพแวดล้อมจริง กับ วัตถุเสมือน เข้าด้วยกันในเวลาเดียวกัน โดยวัตถุเสมือนที่ว่านั้น อาจจะเป็น ภาพ, วิดีโอ, เสียง, ข้อมูลต่างๆ ที่ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์, มือถือ, แทปเล็ต, หรืออุปกรณ์สวมใส่ขนาดเล็กต่างๆ (www.dootvmedia.com) และทำให้เราสามารถทราบได้เสมือนสถานการณ์จริง เช่น อะไรเกิดขึ้นเมื่อไหร่? หากเราสามารถจะทำให้ทราบกระแสข้อมูลจำนวนมากได้ในไม่กี่วินาทีไม่ว่าที่ไหนและเวลาใดที่เราต้องการจะดาวน์โหลดอะไรทุกที่ทุกเวลาได้หรือไม่? ที่เก็บข้อมูลในเครื่องจะล้าสมัยหรือไม่? เราสามารถจะทำงานและเล่นทุกอย่างได้บนคลาวด์คอมพิวติ้งได้ เป็นต้น เทคโนโลยี VR กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน และ 5G จะมีเพื่มขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง คือ 5G Network Slicing คือการจัดแบ่งทรัพยากรระบบประมวลผล ระบบสื่อสารทางกายภาพ ให้กับเครือข่ายที่ได้รับการจัดแบ่งให้เป็นเครือข่ายย่อยๆ เหมือนกันกับที่เรา เอา Server ตัวหนึ่งมาติดตั้ง Server เล็กๆ ภายในหลายตัว ในรูปแบบ Virtualization โดย Server เหล่านี้เราเรียกว่า Virtual Machine ซึ่งจะได้รับการแบ่งปันทรัพยากร ระบบประมวลผลทางกายภาพมาให้กับ Virtual Machine ต่างๆ เหล่านี้ ดังนั้น Network virtualization ในระบบของ 5G คือการนำเอาทรัพยากรทางกายภาพต่างๆ มาแจกจ่ายให้กับเครือข่ายต่างๆ ที่ได้ถูกจัดแบ่งออกมาเพื่อให้บริการแบบต่างๆ ภายใต้ 5G (วิรินทร์ เมฆประดิษฐสิน: 2562) เมื่อเทคโนโลยี 5G มาถึงอาชีพที่จะถูก Disrupt อีกอาชีพหนึ่งคือ อาชีพเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว เพราะเมื่อนำ AR มาใช้แล้วทำให้มองเห็นสถานที่ท่องเที่ยวได้เสมือนของจริง ในประเทศอังกฤษได้นำเทคโนโลยีนี้มาใช้แล้ว โดยใส่กล้อง และเอาสมาร์ทโฟน 5G ไปใส่จะทำให้คนมาชมมาเที่ยวมากขึ้น (2). Very Fast Response, Ultra-reliable & Low latency Communication (uRLLC) (3x:<1 ms) คือเป็นเรื่องของความเร็ว โดยการเพิ่มคุณภาพเครือข่ายให้สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและมีความเสถียรมากที่สุด ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์รูปแบบการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางการแพทย์ หรืออุตสาหกรรมยานยนต์อย่างเช่น รถที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง (Self Driving Car) (www.prachachat.net) และ (3).Lots of Devices, Massive machine type communications (mMTC) (10x: 1 M device/km2) เป็นการขยายขีดความสามารถในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์ เน้นการสนับสนุน IoT ที่ถูกนำมาใช้งานอย่างมากมายมหาศาล ในคุณสมบัตินี้ก็เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) นั่นเอง ซึ่งแนวโน้มของ IoT นี้จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ไปถึง ปี ค.ศ.2025 ถ้าเฟซบุ๊ค (Facebook) เกิดขึ้นมาเมื่อก่อน 10 ปีที่แล้ว จะไม่ได้ได้รับความนิยมเลย แต่ Facebook เกิดขึ้นมาในช่วงที่เรียกกันว่าถูกที่ถูกเวลา (Timing)  เพราะมีบริการใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆพร้อมประสบการณ์ใหม่ๆให้กับผู้ใช้งานอีกด้วย                                                                                               
            


ท้ายสุด 5G Technology ในประเทศไทยจะเกิดขึ้นจริงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 คลื่นที่ AIS ประมูลเป็นคลื่นความถี่ต่ำ คือ 700, 900 MHz วิธีที่จะทำให้ 5G มีมาตรฐาน คือต้องเก็บ Requirement ให้มากที่สุด ตามได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ คือการ Demo ส่วนเรื่องของ Platform IoT เราคุยเรื่องนี้กันมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2018 สำหรับ Use Case ที่ทาง AIS ได้ทำ คือ การทำ MOU กับจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเรื่อง “หุ่นยนต์เจาะกระดูก” หมอเจาะกระดูกจะอยู่กันคนละแห่ง โดยการใช้ Sensor และจะมี Response แจ้งกลับมา อุปกรณ์ต่างๆ ต้องทำงานสัมพันธ์กัน  อีก Case หนึ่งคือ AIS ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำวิจัยเรื่อง “รถ EV ไร้คนขับ (EV autonomous Car) ภายใต้แนวคิดของการสื่อสารยุคหน้า หรือเรียกว่า V2X (Vehicle to everything) เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2562 โดยการใช้รีโมทควบคุมรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปหาดใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือน (VR) ได้นำไปร่วมแสดงในงาน AIS Digital Intelligent Nation 2019 นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ 5G Technology ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การประชุมทางไกล (Video Conference) ระหว่าง ABB กับ Bosch หน้าจอใช้ Remote สามารถมองเห็นภายในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นลักษณะของ Virtualize และได้นำไปแสดงในงาน Big Bang Thailand 2019 ที่ผ่านมาอีกด้วย และขอฝากทิ้งท้ายเอาไว้ว่า Trend ของ IoT ที่จะมาอีกอย่างหนึ่งในอนาคตคือเรื่องของ Social และ UX/UI (User Experience/User Interface).





-----------
บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพล  พรหมมาพันธุ์
อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.