เทคนิคการสอนออนไลน์แบบ Creativity-based learning (CBL) ในยุค 2020
บทความนี้มี “เรื่องเล่า” ก่อนอื่นอยากจะมาแชร์ประสบการณ์ และมาแบ่งปันความรู้ในเรื่องของเทคนิคการสอนออนไลน์ในยุค 2020 ด้วยเหตุการณ์ที่ทุกคนต้องปรับตัว และเรียนรู้กับเจ้าเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเมื่อเชื้อโรครู้จักที่จะปรับตัว เราจึงต้องเปลี่ยนแปลง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียนเป็นหลักสำคัญ การมี Mind set ที่ดีถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำพาเราไปสู่จุดหมายร่วมกันได้ และทางออกที่ดีที่สุดในตอนนี้คือ การสอนออนไลน์ โดยครูผู้สอนมีวิธีการที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเนื้อหาวิชาที่โดยมีวิธีการสอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 วางโครงสร้างเนื้อหารายวิชา
ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการสร้างวิชาเรียนออนไลน์ขึ้นมาว่าเราจะสอนใคร ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ในรายวิชา RTV431 การลำดับความคิดและการเล่าเรื่องโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning (CBL) ด้วยวิธีการ “เล่าเรื่อง” มีข้อดีดังนี้
- เป็นวิธีที่ครูผู้สอนคุ้นเคย และมีความชำนาญ
- เรื่องราวที่สอนก็คือ มีการเพิ่มเติม ตัดทอน เนื้อหา ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยตามเวลา
- สามารถสอนนักเรียนนักศึกษาได้ครั้งละหลายคน เพราะเป็น การบรรยายจะเรียนพร้อมกันห้องละ 40 คนหรือ 200 คนก็ได้
- สามารถบันทึกหน้าจอการสอนด้วย Application Zoom ได้ และประโยชน์ที่นักศึกษาจะได้รับ คือ 1) สามารถลำดับความคิดในการเล่าเรื่องได้ 2) นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ในการหยิบยกสิ่งที่จะนำมาเล่าเป็นเรื่องได้ 3) นักศึกษาสามารถเป็น Youtuber ได้
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมบทพูดและเอกสารประกอบให้พร้อม
การเตรียมความพร้อมในการสอน ถือเป็นหัวใจสำคัญ การจัดเตรียมเนื้อหาที่ใช้ประกอบการสอน คลิปวีดีโอ กิจกรรมการสอน/เกมส์ ผู้สอนควรทดลองซ้อมก่อน เพื่อให้เกิดความราบรื่นในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียน และเข้าใจได้ง่าย และแสดงให้เห็นว่าผู้สอนมีความตั้งใจที่จะสอนจริงๆ ทั้งหมดนี้อยู่ที่การเตรียมตัวของผู้สอน ต้องรู้ในภาพใหญ่ว่าเราจะพูดอะไรในแต่สัปดาห์ และมีลำดับขั้นตอนอย่างไร การเตรียมตัวที่ดีจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาอีกด้วย
ขั้นตอนที่ 3 การสอนออนไลน์แบบสดๆ
เมื่อเตรียมตัวพร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการสอนออนไลน์ตามวัน และเวลา โดยการสอนสด จะทำผู้เรียนได้ให้เห็นหน้า และได้ยินเสียงผู้สอน ผู้สอนก็ได้เห็นปฏิกิริยาของผู้เรียน การถามตอบ การทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันโดยมี Activity ร่วมกันได้เหมือนกำลังอยู่ในห้องเรียนเสมือนจริง โดยมีการเกริ่นนำ การเปิดประเด็นคำถามชวนให้ผู้เรียนสงสัย หรือเกิดความอยากรู้ การยกตัวอย่างประกอบการสอน การถาม-ตอบ และคลิปวีดีโอที่เกี่ยวข้องเปิดให้ชมสลับกับการบรรยายเนื้อหา ช่วงท้ายคาบมีการประมวลความรู้ที่ได้ถ่ายทอดไปด้วยการเล่นเกมส์ Kahoot ผ่านระบบออนไลน์ซึ่งจากการทดลองเป็นครั้งแรกพบว่าผู้เรียนยังคงความสนุกสนาน ตื่นเต้นด้วยการตอบคำถามแบบจำกัดเวลา และได้เป็นการทวนสอบความรู้ที่ได้เรียนไปแล้วด้วย ทุกคนให้ความสนใจมาที่หน้าจอของครูผู้สอนพร้อมเพรียงกัน และที่สำคัญยังสามารถบันทึกวีดีโอหน้าจอการสอนได้ด้วยเพียงกดปุ่ม Record จาก Appication Zoom เมื่อกดหยุดระบบก็จะประมวลผลออกมาเป็นคลิปวีดีโอ สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
ขั้นตอนที่ 4 การจัดการหลังบ้านให้สวยงาม
ผู้สอนก็สามารถที่จะนำคลิปวีดีโอที่ได้มีการบันทึกการสอนไว้นำมา Upload ให้ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำได้อย่างไม่จำกัดเวลา สถานที่ และจำนวนครั้ง โดยสามารถ Upload File VDO /เอกสารประกอบ เช่น PowerPoint /link VDO จาก Youtube ผ่านระบบ e-learning รายวิชาต่างๆ หรือจะ Upload ลงใน Facebook กลุ่มก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย ถือเป็นการผสมผสานหลากหลายวิธีประกอบกันได้อย่างลงตัว
ผลลัพธ์ที่ได้จากการสอน จากการที่ผู้สอนได้นำทฤษฎี แนวคิด และวิธีการมาประกอบกัน โดยมีการนำเสนอแนวคิด และไอเดียในรูปแบบ Board ต่าง ๆ ได้แก่ Concept Board / Mood Board /Keyword / เรื่องย่อ / หน้าปก Youtuber ก่อนการผลิตชิ้นงานจริงในการการเล่าเรื่อง...จากเรื่องที่ผู้เรียนมีความชื่นชอบ หรือความสนใจพิเศษ นำมาทำให้เป็น “เรื่องเล่า” ผ่านคลิปวีดีโอบนช่อง Youtube ของตนเอง การส่งงานก็ง่ายนิดเดียวโดยให้ผู้เรียน Upload ผลงานผ่านช่อง Youtube และนำ Link มาแปะวางใน Facebook กลุ่มเรียน ผู้สอนก็สามารถรับชมผลงานผ่านช่องทางออนไลน์ได้
.........................................................
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุณยนุช สุขทาพจน์
สาขาวิชาดิจิทัลทีวีและสื่อออนไลน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ไม่มีความคิดเห็น