คำถามชวนคิดจากการสอนออนไลน์ช่วงโควิด-19 ระลอกแรก……สู่ App. การสอนออนไลน์ช่วง โควิด-19 รอบใหม่
การระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 เป็นต้นมา ส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตของประชาชนทุกภาคส่วน รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาทุกระดับ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นสถาบันหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กรที่มองการณ์ไกล และไม่หยุดนิ่ง ทำให้มหาวิทยาลัยศรีปทุมเป็น Dynamics University ทุกส่วนงาน ทุกกลุ่มงานต่างปรับตัวเองอย่างรวดเร็วในการเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่และทักษะสำคัญของ New Normal และ Next Normal เพื่อเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดเวลา โดยเฉพาะคณาจารย์ปรับบทบาทจากผู้สอนมาเป็น Coach สร้างสรรค์บรรยากาศในห้องเรียนออนไลน์ด้วยการใช้ Application หลากหลาย การศึกษาเทคนิค วิธีการในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมหาวิทยาลัย โดยสำนักการจัดการศึกษาออนไลน์ (OOE) และ ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน (TLC) ดำเนินการจัดอบรมคณาจารย์ให้ Relearn and Learn เกี่ยวกับการพัฒนาความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ให้เชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันได้ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ Application ใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้เพื่อสร้างสรรค์และผลิตสื่อการเรียนการสอน รวมทั้งเทคนิคการใช้งานบนแพลตฟอร์มดิจิทัลที่สามารถนำไปต่อยอดและใช้งานจริงอย่างมีประสิทธิภาพ
กล่าวได้ว่าการเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ดังที่กล่าวข้างต้น ผนวกกับประสบการณ์ที่เสมือนเป็นบทเรียนใหม่ของการสอนออนไลน์ช่วงโควิด-19 ระลอกแรกแม้เป็นช่วงเวลาเพียงสั้นๆ แต่เป็นสิ่งที่ทำให้อาจารย์ต้องพัฒนาตนเอง นอกจากหยุดนิ่งไม่ได้ต้องวิ่งให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น การเรียนรู้ Application จากที่รู้จักและมีการนำมาใช้ในการเรียนการสอนแล้ว แต่ในคราวนี้เกิดการระบาดระลอกใหม่จะใช้ App.แบบเดิม ๆ อาจไม่มีประสิทธิภาพต่อการสร้างความสนใจแก่ผู้เรียนในระดับที่คาดหวังได้ ซึ่งจากการเข้าร่วมอบรมกับสำนักการจัดการศึกษาออนไลน์ (OOE) ทำให้เกิดความสนใจใน Edpuzzle โดย App.ตัวนี้่มีคำตอบมีสิ่งที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในการสอนออนไลน์เมื่อรอบที่แล้วเกี่ยวกับคำถามชวนให้คิดที่เกิดขึ้นว่า “ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่านักศึกษายังอยู่กับเรา และกำลังเรียนรู้ ดู ฟัง ใจจดจ่อสิ่งที่เราอธิบาย ณ เวลานั้น ตลอดชั่วโมงเรียน”
Edpuzzle ช่วยให้ผู้สอนสามารถออกแบบเนื้อหาบูรณาการสื่อได้ สร้างการมีส่วนร่วม สร้างบทเรียนจากแหล่งเรียนรู้ ต่าง ๆ มากมาย สะดวกต่อการค้นหาในระบบได้อย่างรวดเร็ว เป็น public channel ได้แก่ YouTube, TED Talks และ Khan Academy เป็นต้น กล่าวคือ Application นี้ มีข้อดีในการใช้สำหรับสร้างสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบวิดีโอ แทรกคำถาม เนื้อหาข้อมูลหรือเพิ่มการบันทึกเสียงลงไปในวิดีโอเพื่อโต้ตอบกับผู้เรียนได้ โดยระหว่างที่ผู้เรียนดูวิดีโอ ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้ทันทีโดยสร้างคำถามในรูปแบบปรนัย อัตนัย และการแสดงความคิดเห็น คั่นระหว่างการดูวิดีโอใน แต่ละช่วงเพื่อให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามหรือมีส่วนร่วมขณะนั้น ๆ อีกทั้งกำหนดให้ผู้เรียนไม่สามารถข้ามเนื้อหาของวิดีโอได้ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันสำหรับการตัดต่อวิดีโอที่ง่ายอีกด้วย
ในภาคการศึกษา 2/2563 ผู้เขียนรับผิดชอบรายวิชา CMM262 ภาพยนตร์และวิทยุ-โทรทัศน์ดิจิทัล เป็นรายวิชาที่ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ไทย และต่างประเทศ ประเภท รูปแบบต่างๆ ของภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ อุปกรณ์ เครื่องมือ บุคลากรและกระบวนการผลิตภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ องค์กรที่ควบคุมดูแลอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และมีทักษะเรื่องแนวคิดการผลิตเนื้อหาเพื่อสื่อภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และสื่อภาพเคลื่อนไหวในหลากหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งจากการที่ผู้เขียนมีโอกาสเข้ารับการอบรมกับวิทยากรที่เป็น Coach ของสำนักการจัดการศึกษาออนไลน์ (OOE) เกี่ยวกับ Edpuzzle จึงนำมาทดลองในสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียนโดยผู้เขียนนำบทเรียนวิดีโอเกี่ยวกับประวัติโทรทัศน์ไทยมาสร้างคำถามปรนัย จำนวน 5 ข้อ ให้ผู้เรียนตอบคำถามคั่นระหว่างการดูวิดีโอในแต่ละช่วงเพื่อให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามขณะนั้นไปด้วย เพื่อกระตุ้นความสนใจและมีสมาธิในการติดตามเนื้อหาของวิดีโออีกด้วย
ภาพที่ 2 รูปแบบการสร้างคำถาม |
ภาพที่ 3 ตัวอย่างคำถามปลายเปิด |
ภาพที่ 4 ตัวอย่างคำถามปรนัย |
ภาพที่ 5 ตัวอย่าง Note จากที่กล่าวมาทั้งหมด Edpuzzle จึงเป็น Application ที่ตอบโจทย์ของผู้สอนที่เกิดขึ้นจากการสอนออนไลน์ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 รอบที่แล้ว ทั้งยังเป็น App.ที่ใช้ง่าย เป็นมิตรกับผู้สอนที่อยู่ในกลุ่มสูงวัย และ Low-tech อย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ App. หรือผสมผสานเทคนิควิธีการที่สร้างสรรค์ขึ้นจะเป็นแบบใดนั้นย่อมขึ้นกับจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพและเพื่อบรรลุผลการเรียนรู้ของรายวิชาและหลักสูตรของผู้สอน แต่ละท่านเป็นสำคัญ บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรรณี งามขจรกุลกิจ สาขาวิชาดิจิทัลทีวีและสื่อออนไลน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม |
ไม่มีความคิดเห็น