ถอดบทเรียน เปลี่ยนห้องเรียนสู่การสอนออนไลน์ Drama Teaching Online การสอนการแสดงออนไลน์
ถอดบทเรียน เปลี่ยนห้องเรียนสู่การสอนออนไลน์ Drama Teaching Online การสอนการแสดงออนไลน์
โดย ดร.สุชาญวุฒิ กิ่งแก้ว และอาจารย์บุณฑริกา มั่งคั่ง
สาขาวิชาสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์
การสอนการแสดง คือ หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้สอนในการฝึกฝนผู้เรียนการแสดงผ่านแบบฝึกหัดทางการแสดงเพื่อให้สามารถแสดงละครได้ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) ซึ่งการจัดการเรียนการสอนจะใช้แบบฝึกหัดการแสดง ACTING PRACTICE มีลักษณะเป็นแบบฝึกหัดที่เน้นการลงมือปฏิบัติของผู้เรียน (Activities) ตามแนวทางการสอนการแสดงของ Konstantin Stanislavski ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนแบบฝึกหัดได้ตามสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมในการลงปฏิบัติในแต่ละครั้ง โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้ชี้แจงโจทย์ ควบคุม กระบวนการฝึกปฏิบัติตามหัวข้อที่กำหนด และในความหมายของการแสดง ก็มีคำนิยามที่หลากหลาย อาทิเช่น การแสดง คือ การเลียนแบบธรรมชาติที่อยู่รอบตัว แล้วนำมาเสนอในรูปแบบละคร หรือ การแสดง คือ การกระทำของตัวละคร ที่เกิดจากความรู้สึกและความต้องการของตัวละคร เป็นต้น
จากสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากห้องเรียนปกติไปสู่ห้องเรียนออนไลน์ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างห้องเรียนการแสดงปกติกับห้องเรียนออนไลน์ สำหรับการสอนการแสดง สิ่งที่มีการปรับเปลี่ยน เช่น สภาพห้องเรียน การควบคุมห้องเรียน บริบทสภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน บทบาทของผู้สอน การออกแบบกิจกรรม เป็นต้น
ภาพที่ 1 เปรียบเทียบภาพความแตกต่างระหว่างการสอนการแสดงในห้องเรียนปกติกับการสอน
Online
ห้องเรียนปกติ ห้องเรียนออนไลน์
การเรียนการสอนทั้ง 2 แบบ มีความแตกต่างกันอย่างมาก ห้องเรียนการแสดงปกติผู้สอนได้พบผู้เรียนต่อหน้ามีปฏิสัมพันธ์ได้อย่างใกล้ชิด ในห้องฝึกปฏิบัติที่ไม่มีการรบกวนจากภายนอก ทำให้นักศึกษารู้สึกปลอดภัย แต่ห้องเรียนออนไลน์ ผู้สอนได้พบหน้ากับผู้เรียน ผ่าน Application Zoom การมีปฏิสัมพันธ์ไม่เท่ากัน สภาพห้องเรียนของนักศึกษาแต่ละคนมีพื้นที่ ที่แตกต่างกัน บางคนมีพื้นที่ส่วนตัว บางคนไม่มี แต่ก็สามารถเรียนรู้ได้ ผู้สอนสามารถ Capture หน้าจอ และ Record ในระหว่างการทำแบบฝึกหัดทางการแสดง หรือ การส่งงานการแสดงของนักศึกษาเพื่อนำไปสู่การประเมินหรือดูปฏิกิริยาของผู้เรียนย้อนหลังในฝึกปฏิบัติการแสดงผ่านออนไลน์ได้ อีกทั้ง เพิ่มการมีส่วนร่วมด้วยการใช้ Reaction และการส่ง Direct Massage สอบถามได้มากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากห้องเรียนปกติ ผู้เรียนไม่สามารถสอบถามได้ในระหว่างที่ทำแบบฝึกหัด
เทคนิคการสอนการแสดง ตามแนวทางทฤษฏี ของ Konstantin Stanislavski approach
ผู้สอนดำเนินการสอนอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มจาก Actors’tools, Core of acting ,Creating a role, Thing to remind และ Acting Technique ซึ่งการสอนจะแบ่งหัวข้อให้ผู้สอนแต่ละคนจะรับผิดชอบหัวข้อไม่เหมือนกัน เช่น อาจารย์ที่รับผิดชอบในการปูพื้นฐาน ก็จะสอนในหัวข้อ Actors’ tools กับ Core of acting ก่อนจะไปสู่หัวข้ออื่นๆ เป็นต้น รายละเอียดดัง Mind mapping ดังนี้
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการสอนการแสดง Online
1. การใช้โปรแกรม ZOOM ผู้สอนต้องมีทักษะความชำนาญในการใช้เครื่องมือฟังชั่นที่เหมะสมกับการสอนการแสดง เช่น การสลับ Switch หน้าจอในการแสดงละครเป็นก่อนเลือกแบบฝึกหัดให้เหมาะกับการสอนผ่าน ZOOM
2. การเลือกแบบฝึกหัด เลือกให้เหมาะสมกับการสอนแบบ On line และการดำเนินขั้นตอนให้เหมือนกับห้องเรียนการแสดง เช่น เปิดใจผู้เรียนก่อนเริ่มเรียน ด้วยการนำพานักเรียนทำกิจกรรม "คุยกับหัวใจ" และทำกิจกรรมทำสมาธิ เป็นต้น
3. การสอนทฤษฏี เป็นการสอนทฤษฏีการแสดง มีความสำคัญต่อการเรียนการแสดง แม้ว่าการเรียนจะเน้นการปฏิบัติ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจคำศัพท์ เทคนิคต่างๆ ก่อนเริ่มเรียนปฏิบัติ
4. ตัวอย่างในการสอน การเลือก คลิป สื่อการแสดงมาให้ผู้เรียนได้เห็นรูปแบบ วิธีการ หรือแม้แต่เครื่องมือต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนักแสดงจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การวิเคราะห์ตัวอย่างของการแสดงคลิป เช่น กิจกรรมดูภาพยนต์ แล้วมาวิเคราะห์ร่วมกัน หรือมีเกมส์มาสอดแทรกด้วย เป็นต้น
เทคนิคการแสดงบทบาทของอาจารย์ผู้สอน ต้องทำอย่างไร ในการสอนการแสดงผ่าน Online
1. FRAME หมายถึง ขนาดของภาพ กรอบภาพของหน้าจอ Zoom ผู้สอนต้องชี้แนะเครื่องมือให้ผู้เรียนเข้าใจและเลือก Frame ภาพให้เหมาะกับการแสดงละครของตนเอง
2. การใช้น้ำเสียง หมายถึง การที่ผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้สึกมีอารมณ์ร่วม ในการเรียนออนไลน์ ใช้พลังมากกว่าห้องเรียนปกติ สิ่งที่เกิดขึ้นจาการใช้น้ำเสียง ทำให้เกิดความตื่นตัว ไม่ง่วง ทำให้เกิดความน่าในใจ เป็นต้น
3. การสังเกตและวิเคราะห์ หมายถึงผู้สอนต้องสังเกต วิเคราะห์ นักเรียนการแสดงตลอดการทำ แบบฝึกหัด เช่น การสังเกตว่านักศึกษาคนไหนเริ่มไม่สนใจ เริ่มหลุด เริ่มไม่เข้าใจกับการแสดง เป็นต้น การสอนออนไลน์ ถ้าพบปัญหาผู้สอนสามารถส่งข้อความ Message ส่วนตัวถึงนักศึกษาได้
4.TIMING คือ การคำนวนเวลาในการทำแบบฝึกหัดการแสดง และการคำนวนเวลาสอนในแต่ละครั้ง เช่น การเรียนในออนไลน์มีข้อจำกัดได้ไม่เท่ากับห้องเรียปกติ ผู้สอนต้องเลือกที่จำเป็นและเข้าใจผู้เรียนในบริบทของเขาให้มากที่สุด
จากการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสอนการแสดงออนไลน์ สิ่งสำคัญในการเรียนผ่านออนไลน์ คือความพร้อมของผู้สอนกับผู้เรียน ที่ต้องมีสภาพแวดล้อมเครื่องมือในการเรียนออนไลน์ โดยเฉพาะความพร้อมของนักศึกษา สภาพจิตใจ สภาพในห้องเรียน ระบบเครือข่าย ภาพเสียง และต้องชี้แนะให้เข้าใจใช้เครื่องมือ ZOOM สำหรับการแสดงละคร โดยผู้สอนต้องสามารถควบคุม สังเกต ช่วยเหลือเข้าใจสภาพปัญหาของผู้เรียนในทุกสถานการณ์ และคอยชี้แนะเพิ่มเติมทั้งในห้องเรียนและส่วนตัว เช่นการส่งข้อความ Message หาส่วนตัว เป็นต้น และผู้สอนต้องมีการสรุปบทเรียนเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าใจชัดเจนทุกครั้ง ดังนั้นอุ ปสรรคในการสอนออนไลน์ไม่ใช่ประเด็นปัญหาสำคัญ แต่อยู่ที่ผู้สอนจะมีความพยายามในการปรับพัฒนาแก้ไขหรือไม่ เพื่อให้สามารถสอนให้มีประสิทธิภาพได้
ไม่มีความคิดเห็น